เปิดรายชื่อ 35 รัฐมนตรี “ครม.ยิ่งลักษณ์1” ยงยุทธ มท.1 ยุทธศักดิ์ กลาโหม “กิตติรัตน์-ธีระชัย” คุมศก.

แล้วรายชื่อคณะรัฐมนตรีจากมือของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ถูกส่งให้สำนักราชเลขาธิการ  เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวแล้ว

นี่คือ คำยืนยันของ นายอำพน กิตติอำพล เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในช่วงเที่ยงวันที่ 9 สิงหาคม 2554

ก่อนหน้านี้ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย  ได้แสดงเจตนา ขอถอนตัวไม่รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี  โดยบอกว่าได้โทรศัพท์แจ้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ช่วงเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นั่นแสดงว่า โผครม. ยิ่งลักษณ์ เวอร์ชั่น 100 % คลอดแล้ว

โผครม. 35 ตำแหน่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากโผก่อนหน้านี้หลายตำแหน่ง ไม่มีชื่อ ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย  ไม่มีชื่อ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ไม่มีชื่อ  ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช ไม่มีนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และไม่มีชื่อแกนนำเสื้อแดง

ล่าสุด เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรีได้เผยแพร่ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี

ประกาศ
แต่งตั้งรัฐมนตรี

————————–
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ปร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้ว นั้น

บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกรัฐมนตรี

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรี

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

พลตำรวจโท ชัชจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

นายภูมิ สาระผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นางสุกุมล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นางบุญรื่น ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายวิทยา บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี

 ที่มา : มติชนออนไลน์ 9 สิงหาคม 2554


พิสูจน์ตัวตนที่แท้จริง ‘อภิสิทธิ์’!

ที่มา : โลกวันนี้ 8 พฤศจิกายน 2553
โดย : สุรชัย ปากช่อง

การพ้นสมาชิกภาพของ 6 ส.ส. เนื่องจากกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) ประกอบมาตรา 48 กรณีถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ได้แก่ นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช (ลูกชายนางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช อดีต ส.ว.ขอนแก่น) ส.ส.พรรคเพื่อไทย และ ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน

แต่ที่มีปัญหาขณะนี้คือ 2 ใน 6 นั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคือ นายบุญจง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งทั้งสองยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่งแม้จะลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมก็ ตาม ซึ่งนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็ออกมาสนับสนุนว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้มีผลต่อตำแหน่งรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้สังคมมองว่าเป็นบรรทัดฐานของจรรยาบรรณหรือจิตสำนึกทางการเมือง แต่นายบุญจงกับนายบุญเกื้อกลับอ้างบรรทัดทางรัฐธรรมนูญ ทั้งยังตอกกลับพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาพูดเรื่องนี้ว่า ไม่จำเป็นต้องยึดบรรทัดฐานเหมือนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เพื่อสมัครรับเลือกตั้งซ่อมที่สุราษฎร์ธานี เพราะก่อนหน้านี้นายสุเทพเองเคยประกาศว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรองนายก รัฐมนตรีเช่นกันก่อนถูกกระแสสังคมกดดัน

เรื่องจรรยาบรรณและความรับผิดชอบทางการเมืองจึงถือเป็นปัญหาสำคัญของการ เมืองไทยไม่น้อยไปกว่าเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน เพราะถ้านักการเมืองไม่มีจรรยาบรรณก็ไม่ต่างอะไรกับ “โจรในเครื่องแบบ” และไม่ละอายที่จะประพฤติในสิ่งผิดๆ รวมทั้งทุจริตคอร์รัปชัน

หาก 2 รัฐมนตรีไม่ยอมลาออก และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ทำอะไรเลย หรือปล่อยให้กระแสสังคมกดดันเองนั้น ประชาชนอาจมองว่านายอภิสิทธิ์ก็ไม่มีจรรยาบรรณเช่นกัน หรือไม่มีภาวะความเป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นเพราะไม่มีอำนาจหรือกลัวจะกระทบถึงเสถียรภาพของรัฐบาลก็ตาม

ปัญหานี้ไม่ต่างกับ “กฎเหล็ก 9 ข้อ” ที่นายอภิสิทธิ์ถูกเย้ยหยันว่า “ขึ้นสนิท” เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ทั้งที่หลายโครงการในรัฐบาลมีข่าวมากมายเรื่องความไม่โปร่งใส รวมทั้งการโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม

อย่างที่นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ออกมาแถลงว่า พรรคภูมิใจไทยเห็นว่านายบุญจงเหมาะสมที่สุดที่จะอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดข้อห้ามไม่ให้ข้าราชการการเมืองลงสมัครรับเลือก ตั้ง ส.ส. แต่ห้ามเฉพาะข้าราชการประจำเท่านั้น และพรรคภูมิใจไทยก็ไม่ถือกรณีนายสุเทพเป็นบรรทัดฐานทางการเมือง เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ต้องกระทำเช่นนั้นทุกคน

นายศุภชัยยังย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรสร้างความสับสนกับประชาชน เพราะแม้แต่การยุบสภานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทุกคนก็ต้องอยู่ในตำแหน่ง รักษาการ ถ้ายึดบรรทัดฐานของพรรคประชาธิปัตย์ก็แสดงว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีของ พรรคประชาธิปัตย์จะไม่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีรักษาการ เพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. หลังยุบสภาใช่หรือไม่

ขณะที่นายเกื้อกูลที่ยืนยันไม่ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคมเช่นกัน ก็ให้เห็นผลไม่ต่างกับนายบุญจงว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี อีกทั้งตนเองก็แยกแยะระหว่างการทำหน้าที่รัฐมนตรีกับ ส.ส. มาตลอด แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่มติของพรรคด้วย

ปัญหานี้จึงไม่ใช่แค่พรรคภูมิใจไทยกับพรรคชาติไทยพัฒนาเท่านั้น แต่อยู่ที่การตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ด้วยว่าจะกล้าสร้างบรรทัดฐานขึ้นมา หรือไม่ เพราะนายอภิสิทธิ์มีอำนาจที่จะปลดรัฐมนตรีได้ทุกคน

เรื่องจริยธรรมจึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆทางการเมือง หรือเรื่องของพรรคภูมิใจไทยกับพรรคชาติไทยพัฒนาเท่านั้น แต่กำลังเป็นบทพิสูจน์ตัวตนที่แท้จริงของนายอภิสิทธิ์อีกครั้งว่าเหมาะสมที่ จะเป็น “ผู้นำรัฐบาล” ต่อไปหรือไม่?

หรือนายอภิสิทธิ์จะใช้วิธีตีลูกชิ่งเป็นแค่ “นักโต้วาที” หรือ “ศรีธนญชัย” ก็ให้มันรู้ไป!