น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ “ธรรมชาติลงโทษ” หรือ “มีการสั่งการจงใจให้เกิดเช่นนี้”

น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ “ธรรมชาติลงโทษ” หรือ “มีการสั่งการจงใจให้เกิดเช่นนี้”
โดย : ณัฐวุฒิ รักพระเจ้า

ข่าวน้ำท่วมซึ่งในนั้นข่าว ปรากฏภาพของ ประชาชนที่เดือดร้อน แต่ส่วนหนึ่งก็พยายามร่วมแรงร่วมใจ หาทางช่วยเหลือ นับเป็นวัฒนธรรมที่เกื้อกูลกันของคนไทย ที่นับว่าเป็นเรื่องดีเป็นอย่างมาก ไม่ว่าสถานการณ์ หรือเหตุการณ์บ้านเมืองจะอยู่ในภาวะใด ต่างฝ่ายต่างก็ออกมาช่วยกันไว้ก่อน เรื่องตีรันฟันแทงกันก็เอาไว้ทีหลัง

ปีนี้น้ำท่วมในหลายพื้นที่ เท่าที่ได้ทราบมานั้นหลายที่ก็ประสบความเสียหายเป็นอย่างมาก นาข้าวหลายร้อยพันไร่ล่มจมอยู่ใต้น้ำ ทั้งที่ปีนี้ผลผลิตดีกว่าหลายปีที่ผ่านมา ก็ได้ทราบมาอีกว่าชาวนาหลายคนแทบจะฆ่าตัวตายเพราะอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีกลับออกมากล่าวว่า “ให้ทำใจรับสภาพ” ซึ่งหากพยายามมองในแง่ดี (แบบที่ฝ่ายเชียร์ทำกัน) ก็คงต้องลงความเห็นว่า “นี่เป็นภัยธรรมชาติ” แต่ไม่รู้ว่าใครจะคิดหรือไม่ว่า หากอุทกภัยในครั้งนี้ ไม่ได้มาจากธรรมชาติจริง แต่เป็นการยิมมือธรรมชาติทำให้มันเกิดขึ้น เพื่อเหตุผลบางประการ

เมื่อปลายปีที่ผ่านมานั้น เราต่างได้ทราบจากการรายงานว่าเราจะประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก แต่เมื่อเอาเข้าจริงมันกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะปีนี้ปรากฏว่ามีฝนมากเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ โดยปกติแล้วการเก็บกักน้ำไว้ใช้นั้น เขื่อนแต่ล่ะเขื่อนจะมีระยะและช่วงเวลาที่ต้องทำการเก็บกักน้ำเพื่อสำรองไว้ ใช้ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงคือ ฤดูหนาวต่อฤดูแล้ง คือช่วง ประมาณ พฤศจิกายน ถึง พฤษภาคม  นั่นหมายถึงมันจะคาบเกี่ยวและพอดีกับช่วงมรสุมที่จะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนที่ตกหนักในช่วง ปลายกันยายน และตุลาคม ของทุกปี ดังนั้น ในช่วงต้นฤดูฝน คือ พฤษภาคม ถึงมิถุนายน เขื่อนต่างๆ ก็จะไม่มีการเก็บกักน้ำไว้ หากมีปริมาณเพิ่มก็จะปล่อยน้ำออก และคงปริมาณไว้เพื่อที่จะรับน้ำได้อย่างเต็มที่ช่วงเดือนตุลาคมนั่นเอง

ในปีนี้มีการพยากรณ์อากาศไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ไตรมาสที่สองของเดือนแล้วว่า ฤดูฝนปีนี้จะตกชุก (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับพระโคเลือกกินอะไร หรือพญาแรกนาเลือกผ้านุ่งกี่คืบ) อีกทั้งมรุสมที่จะคืบคลานเข้ามาสู่ภูมิภาค นี้ซึ่งจะส่งอิทธิพลทำให้ช่วงปลายฝนจะมีฝนตกหนักต่อเนื่อง อันมีผลมาจากปรากฏการณ์ เอลนิลโย และลานิลยา และทำให้ฝนที่ตกมีปริมาณมากและต่อเนื่องยาวกว่าปกติ  ซึ่งเรื่องเหล่านี้ กรมชลประทาน และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตซึ่งทั้งสองหน่วยงานนี้รับผิดชอบดูแลทรัพยากรณ์น้ำต่างรู้ ดี เพราะต้องคอยติดตามความเป็นไปของสภาวะอากาศที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำ แม้ว่าต้นปี 53 เกิดภาวะแล้ง และน้ำในเขื่อนลดลงจนน่าใจหาย แต่ปริมาณน้ำจากฝนตก มันก็กลับมาอย่างที่เราได้เห็นกันอยู่

อย่างที่กล่าวไปแล้วในเบื้องแรก คือเขื่อนต่างๆ ที่ทำการเก็บกักน้ำนั้น จะเริ่มเก็บกักน้ำอย่างจริงจังในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฝนชุกเพราะอิทธิพลมรสุม แต่ช่วงปกตินั้น ก็จะปล่อยน้ำออกมา โดยให้คงระดับน้ำเหนือเขื่อนไว้เท่าที่จะรองรับน้ำได้ในช่วงปลาย เว้นแต่ว่าเกิดอิทธิพลน้ำทะเลหนุนหรือฝนตกหนักมากกว่าปกติ ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณน้ำบริเวณปลายทางหรือน้ำหน้าเขื่อนเกิดสูงขึ้น การเก็บกักน้ำ หรือการลดการระบายน้ำออกมาจากเขื่อนจึงจะเกิดขึ้น หากว่าไม่มีเหตุการณ์ใดๆ หรือปัจจัยเช่นที่ว่านี้ ก็จะไม่มีการเก็บกักน้ำอย่างเด็ดขาดเช่นนี้

แต่อย่างไม่คาดคิดก็คือ ในปีนี้กลับมีการเก็บกักน้ำไว้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ซึ่งทั้งหมดเป็นคำสั่งโดยตรงจากผู้ยิ่งใหญ่ และคนในรัฐบาลบางคนสั่งการให้ทำอย่างนั้น และอ้างเหตุผลว่า ปีนี้ฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่าปกติ สืบเนื่องมาจากภัยแล้งเมื่อต้นปี (ซึ่งมันคนล่ะเรื่อง)  เรื่องนี้เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานและ กฝผ. ต่างคัดค้านเพราะข้อมูลของทั้งสองหน่วยงานต่างยืนยันตรงกันว่า ปีนี้ระยะฝนที่ทิ้งช่วงจะไม่ได้เป็นอย่างที่อ้าง และปริมาณน้ำฝนจะมากเพราะปรากฏการณ์ เอลนิลโย และลานิลยา และการที่จะเก็บกักในช่วงเดือนท้ายๆของฤดู ก็จะมีเพียงพอ และใช้ได้ถึงฤดูฝนปีหน้า

จากการสั่งการครั้งนั้นทำให้ปริมาณน้ำมีมากจนเกินความจำเป็นในช่วงนี้ และอาจจะทำให้เขื่อนพังลงได้ ทำให้ต้องระบายน้ำอย่างเร่งด่วน ผลก็คือน้ำที่ท่วมพื้นที่หลายจังหวัด และสร้างความเสียหายอย่างมากมาย อย่างที่เราได้เห็นกัน ทั้งที่ทุกฝ่ายก็ทราบดีแล้วว่าปริมาณฝนในปีนี้นั้นมากมายเพียงใด และระยะการการเก็บกักน้ำนั้นจะต้องดำเนินในช่วงไหน แต่ทำไมจึงมีการสั่งการให้เก็บน้ำไว้ยาวนานจนกระทั่งเจอสภาวะฝนชุกและมรสุม ทำให้น้ำล้นเขื่อนแล้วก็ต้องระบายออกมามากมายอย่างนี้

เรื่องทั้งหมดเป็นการ บริหารงานแบบไร้ประสิทธิภาพ รัฐบาลนี้ของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมชลประทาน ที่ไม่ได้เอาใจใส่เรื่องนี้อย่างจริงๆจัง

แต่จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือ ได้ในกรมชลประทานนั้น ต่างอึดอัดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะได้คัดค้านทัดทาน อีกทั้งให้ข้อมูลไปแล้วว่าทำอย่างนี้ไม่ได้ มันจะเดือดร้อน  ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาว่า ไร้ประสิทธิภาพ หรือ จงใจให้เป็น ประเด็นมันอยู่ที่ว่า เรื่องนี้มีความเป็นไปได้แค่ไหนอย่างไร เพราะคนที่สั่งการที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ และไม่สนใจคำท้วงติง สั่งให้เก็บกักน้ำต่อเนื่องทั้งที่ปริมาณน้ำเพียงพอ เพียงเพื่อต้องการให้เกิดวิกฤติ เพื่อที่จะได้

1) เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชน ในเรื่องราวต่างที่ผ่านมาเมื่อเดือนเมษา ต่อเนื่องพฤษภา

2) เบิกใช้งบประมาณในกรณีที่ต้องแก้ปัญหาภัยภิบัติ จากอุทกภัยในครั้งนี้

3) ล้างภาพลักษณ์ของทหารที่เสียหายไปเมื่อเกิดวิกฤติการทางการเมืองที่ผ่านมา ด้วยการให้ทหารออกมาระดมกำลัช่วยเหลือชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง เพราะอย่างไรก็ตาม ทหารนั้นมีศักยาภาพมากกว่าหน่วยงานช่วยเหลืออื่นๆอยู่แล้ว ทั้งยุทธภัณฑ์ต่างๆ ที่มีก็เอื้อแก่การที่จะเข้าถึงพื้นที่ยากๆ และสามารถที่จะทำการปฏิบัติการจิตวิทยาได้เป็นอย่างดี

ถ้าลอง ย้อนกลับไปเมื่อหลังการยึดอำนาจเมื่อปี  2549 ในช่วงเดียวกันนี้เองก็มีเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคกลาง ซึ่งก็มีผลทำให้ข่าวต่างๆในช่วงนั้น เน้นไปที่เรื่องน้ำท่วม และการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเสียหายของประชาชน แม้ว่าจำไม่มากเท่าครัง้นี้ แต่ก็สามารถ “กลบกระแส” เรื่องการยึดอำนาจแบบไม่เข้าท่าในเดือนกันยายนได้เป็นอย่างดี

การที่ ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สนใจคำคัดค้านของคนที่ปฏิบัติงานในกรมชลประทาน นั้น มีก็น่าจะที่เป็นไปได้ที่จะเป็นการ “จงใจ” เพื่อที่จะให้เกิดสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และมีผลทำให้เรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น “โดนกลบ” และ “เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนไปที่น้ำท่วมเท่านั้น” การที่ดูเหมือนว่า กรมชลประทาน หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จะไม่สนใจหรือเลินเล่อ มันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะไม่น่าที่จะตกข่าวเรื่องสภาพอากาศโลกอย่างง่ายๆ แบบนี้ และหากทราบก็ไม่น่าที่จะนิ่งเฉย และปล่อยจนเกิดเรื่องแบบนี้ได้ และหากเรื่องที่มีการสั่งการนั้นเป็นจริง คนสั่งการ ก็ต้องเป็นคนที่มีอำนาจเพียงพอ ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า “ผู้ยิ่งใหญ่” เป็นคนสั่งให้ทำ

ก่อนหน้านี้ไม่นาน มีหลายคนออกมาพูดว่า น้ำท่วมนี่เป็นการวางแผนโดยฝ่ายหนึ่ง ซึ่งก็ได้รับการทัดทานว่า “คิดมากไป” และ “ไม่น่าที่จะเป็นไปได้” แต่เมื่อพิจารณาตามมูลเหตุ และข้อมูลสนับสนุน นั่นคือ การสั่งการให้เก็บน้ำไว้ก่อนที่จะมีฝนหนักจนปล่อยให้ท่วมในช่วงนี้นั่นเอง มันเหมือนเป็นไปไม่ได้เลย แต่ทว่ามันมีเรื่องอย่างนี้มาให้เห็นแล้ว ไอ้ที่บอกว่า ท่วมเพราะฝนตกหนักนั้น ก็ต้องดูเลยว่า ปริมาณฝนในแต่ล่ะวันนั้น เป็นอย่างไร มีเพียงพอที่จะทำให้ท่วมได้หรือไม่ และหากว่าเขื่อนมันเก็บน้ำได้เพียงพอ มันจะท่วมได้ไหม

อันที่จริง ผมเองก็เห็นการคาดคะเนเรื่องน้ำท่วมในลักษณะเช่นที่ว่านี้มาจากหลายที่ ซึ่งก็มีทั้งคนที่เห็นด้วย และเห็นต่าง จนแม้กระทั่งมีการวิพากษ์ การคาดคะเนเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพ้อเจ้อ และมองในมุมที่ Negative และคิดมากเกินไป ซึ่งผมเองก็เห็นเป็นเช่นนั้นในทีแรกเหมือนกัน แต่หลังจากที่ได้รับข้อมูลเรื่องที่มีการสั่งการให้เก็บกักน้ำไว้โดยไม่มี การสนใจการท้วงติงแล้วก็ต้องกลับมาคิดใหม่จริงๆ ผมเองไม่อยากที่จะกล่าวหาอะไรเลื่อนลอยแบบนี้ เพราะมันอาจจะเป็นการทำงานแบบ โง่เง่า ของคนบางคนทำให้เกิดเรื่องนี้ก็เป็นได้ แต่ครั้นเมื่อพิจารณาผ่านเหตุการณ์ และข้อมูลที่ได้มาเข้าด้วยกัน ก็ปรากฎว่าไม่สามารถที่จะมองข้ามประเด็นนี้ไปได้เลย เพราะแรงจูงใจของเรื่องนี้มีอยู่

เมื่อพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ที่โคราช แล้วก็ยิ่งคิดหนักเข้าไปอีก เพราะมันเป็นไปได้ยากมากๆ เพราะมัน ไม่น่าที่จะเป็นไปได้เลยในทางทฤษฎีและเชิงสถิติ ที่จะทำให้น้ำท่วมได้ขนาดนี้ หากว่าไม่มีการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อนพร้อมๆกัน อีกทั้งก็ทราบมาอีกเช่นกันว่า เขื่อนใหญ่บางเขื่อนยังมีศักยภาพรับน้ำได้อีกไม่น้อยกว่า 30%

ดังนั้น เหตุแห่งน้ำท่วมที่แท้จริงนั้น แน่นอนว่าเป็นเพราะฝนตกหนักแน่นอน อันนี้ถูกต้อง ซึ่งแต่ถ้าหากมีการระบายน้ำอย่างถูกต้อง และกักเก็บน้ำได้พอเหมาะกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ความน่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วมจึงไม่สามารถเป็นไปได้อย่างที่เห็นเลย เท่าที่ผมได้ข้อมูลเรื่องการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนด้วยเหตุผลที่ว่า น้ำล้นเขื่อนนั้น ก็มีหลักฐานอ้างอิงจากข่าวที่ออกมาว่า ต้องปล่อยออกมาไม่เช่นนั้นเขื่อนมันจะแตก แต่กลับมีการออกมาปฏิเสธซ้ำอีกว่า ไม่มีการปล่อยน้ำออกมาให้ท่วม ที่ท่วมเป็นเพราะฝนตกอย่างเดียว เรื่องนี้ก็เลยทำให้ผมเชื่อหนักเข้าไปอีกว่า มีการกระทำเช่นที่ว่าจริงๆ

และการที่กล่าวกันว่า เป็นเพราะการบริหารจัดการน้ำในครั้งนี้นั้น ผิดพลาด และรัฐบาลไมได้ให้ความสนใจ ก็เป็นข้อสังเกตุที่ถูกต้องเช่นกัน แต่ก็อย่าลืมว่า ทำไมจึงมีการปล่อยปละละเลยอย่างนี้อีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะเอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่น่าที่จะไง่บ้าเซ่อได้ขนาดนี้

อีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่มีบางท่าน(ที่ผมไปอ่านเจอ) ให้ความเห็นไว้อย่างน่าฟังว่า ทั้งหมดเป็นความไม่เข้าท่าของคนในรัฐบาลที่มัวแต่ทะเลาะกัน เลยไม่สนใจหรือใส่ใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งที่จริงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะรับมืออย่างไรเมื่อเกิดวิกฤติ น้ำในลักษณะนี้ ซึ่งก็คงไม่แปลกหากมีการสั่งการ ให้ทำ หรือไม่ให้ทำ อะไร เพื่อทำลายหรือสนองความต้องการของใครสักคนหนึ่ง แต่ทั้งหมดที่ผมว่ามา มันไม่ได้เป็นเพราะธรรมชาติที่ทำกับประชาชน แต่กลับเป็นคนที่ใช้ธรรมชาติทำร้ายประชาชนนั่นเอง

ผมอยากให้ลองอภิปรายกันในเรื่องนี้ดูว่า มันมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งผมเองก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเชื่อหรือยืนยันแนวคิดของผมว่ามันถูกหมด แต่ผมเรียนครับว่า ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ก็มาจากพื้นฐานข้อมูลดิบที่ได้มาว่า “มีการสั่งการให้เก็บน้ำไว้ใม่ให้ระบายออกมา จนมันล้นเขื่อนเมื่อน้ำก้อนใหญ่มาเยือนนั้นเอง”



Leave a comment