เดินสายประจาน..ฟ้อง(ศาล)โลก

“การเสียชีวิตหมู่ประเทศไทยไม่อนุญาตแม้แต่จะ ให้มีการสืบ สวนสอบสวนในชั้นศาล แม้ไทยได้ชื่อเมืองล้านรอยยิ้ม แต่โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ อาชญากรรมโดยรัฐต่อประชาชนจะถูกบอกให้โลกรับรู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทยจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง หลังจากนี้ผมจะโน้มน้าวให้อัยการไอซีซีเห็นว่ามีเหตุผลที่ศาลจะรับฟ้อง เพราะมีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นจริง ซึ่งผู้ที่สั่งฆ่าประชาชนคือรัฐบาล โดยผู้บริหารหรือนายกรัฐมนตรีไทยที่ถือสัญชาติอังกฤษ ซึ่งกฎหมายเปิดช่องให้ยื่นฟ้องได้”

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ และทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 กรณีการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้ดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในคดีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน โดยมีการถ่ายทอดสดระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากญี่ปุ่นมาไทย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 18)

“อภิสิทธิ์” ยันสัญชาติไทย

“เขารับจ้างมาทำอย่างนั้นเขาก็ต้องทำอย่างนั้นแหละครับ แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบ เข้าใจว่าเขาแถลงข่าวว่าจะยื่นฟ้อง ผมสัญชาติไทยครับ ไม่มีสัญชาติมอนเตเนโกร”

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอบโต้นายอัมสเตอร์ดัมที่ระบุว่านายอภิสิทธิ์ถือพาสปอร์ตสัญชาติอังกฤษ เพราะเกิดในอังกฤษจึงมีสัญชาติอังกฤษโดยอัตโนมัติ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกำลังจะดำเนินการแถลงเรื่องนี้ต่อไป

ขณะที่ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ตามหลักกฎหมายสัญชาติต้องดูว่านายอภิสิทธิ์มีชื่อในทะเบียนราษฎรอังกฤษหรือ ไม่ ถือเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐอังกฤษหรือไม่ แค่มีจุดเกาะเกี่ยวตามที่กฎหมายสัญชาติอังกฤษกำหนดไม่ทำให้มีสถานะเป็นคน สัญชาติอังกฤษ

โลกกระชับ “อภิสิทธิ์”

แม้กรณีสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์จะมีผลหรือไม่ก็ไม่ใช่ประเด็นเดียว ในการยื่นฟ้องไอซีซี เพราะในสำนวน 250 หน้าได้ระบุว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีการใช้อาวุธจริงและอุปกรณ์ที่กองทัพใช้ในการสงคราม ใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกฝึกฝนเป็นทีมสไนเปอร์กว่า 150 คน ที่มีการระบุตัวบุคคลชัดเจนในลักษณะของมือที่สาม เพื่อประหัตประหารประชาชน

ที่สำคัญการยื่นคำร้องต่อไอซีซียังมีศาสตราจารย์ดักลาสส์ คาสเซิล ผู้อำนวยการศูนย์สิทธิพลเรือนและสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยนอร์ทเทอดาม ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น “Norte Dame Presidential Fellow” ร่วมร่างคำร้องดังกล่าวด้วย ซึ่ง ศ.คาสเซิลยืนยันว่าไอซีซีสามารถพิจารณาคดีที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้ แม้ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีไอซีซีก็ตาม

นอกจาก ศ.คาสเซิลจะมีบทความทางวิชาการทั้งภาษาอังกฤษและภาษาสเปนที่ถูกตีพิมพ์ใน สหรัฐ ลาติน อเมริกา และยุโรป ได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมมนาทั่วโลกแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร (amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกวนตานาโม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act (ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐ ในนามของนักการทูตอเมริกันที่เกษียณแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลอมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซุเอลา

นายอัมสเตอร์ดัมจึงมั่นใจว่าประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของ ศ.คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาลในการช่วยเหลือการยื่นคำร้องต่อไอซีซี ขณะเดียวกันก็ถือว่าการยื่นคำร้องต่อไอซีซีเป็นการเริ่มต้นนำเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายในเวทีโลกอย่างเป็นทางการ เป็นการดึงโลกกระชับวงล้อมนายอภิสิทธิ์ และยังเป็นการประจานอำนาจเผด็จการในไทยไปทั่วโลกอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญคุมฝูงชนสหรัฐ

ขณะเดียวกันนายอัมสเตอร์ดัมยังระบุว่า การยื่นคำร้องครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีความพยายามรวบรวมข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐานอย่างครบถ้วนและเป็นระบบมากที่สุด เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยความจงใจและก่อให้เกิดความ รุนแรงเกินกว่าจะรับได้ ซึ่งจะต้องมีผู้รับผิดชอบ ทั้งยังอ้างคำให้การของพยาน รวมทั้งนายโจเรย์ วิตตี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมฝูงชน และเคยสังกัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสำนักงานตำรวจแห่งนครลอสแอนเจลิส ที่ระบุว่าการปฏิบัติการของกองทัพไทยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เป็นการปฏิบัติการทางทหารซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสังหารพลเรือนผู้ บริสุทธิ์

แม้แต่กรณีการยิงระเบิดเอ็ม 79 ที่ถนนราชดำเนิน จน พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน อาจเป็นฝ่ายทหารทำกันเอง เพื่อเป็นข้ออ้างในการใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎการใช้กำลังของกองทัพ

ฮิวแมนไรท์ฯประจานไทย

เช่นเดียวกับรายงานประจำปี 2553 ขององค์กรสิทธิมนุษยชนสากล (ฮิวแมนไรท์วอทช์) ได้ระบุถึงสถานการณ์ความขัดแย้ง วิกฤตการเมืองไทยช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์เพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาว่าจะเร่งสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบต่อกรณีละเมิด สิทธิมนุษยชนผู้ชุมนุมเสื้อแดง แต่การสอบสวนกลับแทบไม่มีอะไรคืบหน้า ทั้งที่มีหลักฐานและข้อมูลชัดเจนว่ามีการใช้พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ในการปราบ ปรามประชาชน มีการใช้อาวุธสงครามระดมยิงใส่ประชาชนในวัดปทุมวนารามจนเป็นเหตุให้มีผู้ เสียชีวิต 6 ศพ มีการปกปิดข้อมูลคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขัง

ขณะเดียวกัน ศอฉ. ยังถือโอกาสที่มีการใช้อำนาจ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปิดกั้นเสรีภาพสื่อและการแสดงความเห็นของประชาชน โดยการปิดสื่อต่างๆมากมาย

รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์จึงเป็นการตอกย้ำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการ สังหารโหดในไทยว่า ผ่านมากว่า 9 เดือน รัฐบาลไทยก็ยังพยายามปกปิดความจริง

ในขณะที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยืนยันว่าได้ทำตามพยานหลักฐานอย่างตรงไปตรงมา โดยระบุว่าแม้ว่าตนเองจะเป็นกรรมการ ศอฉ. แต่ก็ไม่มีผลกับการสอบสวนหรือบิดเบือนเป็นอันขาด เพราะคดีทำในรูปของคณะพนักงานสอบสวนที่มีพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมสอบสวนด้วย

นอกจากนั้นนายธาริตยังตอบโต้การยื่นฟ้องของนายอัมสเตอร์ดัมว่า เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองที่ต้องการดิสเครดิตนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเท่า นั้น แต่นายอัมสเตอร์ดัมก็กล่าวถึงนายธาริต ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งใน ศอฉ. ว่าไม่ว่าจะทำอย่างไรก็จะเป็นไปตามทิศทางที่ ศอฉ. ให้เป็น ทั้งอธิบดีดีเอสไอบอกให้ทีมสอบสวนสรุปว่าถ้าไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนยิงให้ ทีมสอบสวนสรุปไปว่าเป็นฝีมือคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นการกล่าวหาผู้ต้องหาให้เป็นผู้ก่อการร้าย

“คณิต” ชี้ไม่ได้รับความร่วมมือ

แต่นายคณิต ณ นคร คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กลับยืนยันว่า คอป. ไม่ได้รับความร่วมมือจากตำรวจและดีเอสไอจริง แม้นายกรัฐมนตรีจะสั่งการกำชับไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีความหมายอะไร

เช่นเดียวกับการไม่ให้ประกันตัวแกนนำ นปช. และคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังกว่า 400 คน แต่นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ที่มีข้อหาเดียวกันศาลกลับให้ประกันตัวนั้น ต้องถามศาล แต่ฝ่ายอัยการเองก็ต้องดำเนินการด้วย เพราะรัฐบาลไม่สามารถบังคับศาลได้ และรัฐบาลก็ต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายเช่นกัน

ขณะที่นายจรัญ โฆษณานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงการสอบสวนคดีของคนเสื้อแดงว่า ที่ฝ่ายทหารปฏิเสธจะให้ความร่วมมือในการสอบสวนนั้น เป็นการตอกย้ำให้เห็นอำนาจอิทธิพลของกองทัพในประเทศไทย

เช่นเดียวกับกระบวนการยุติธรรมที่มีความล่าช้าผิดปรกติ ก็แสดงถึงอำนาจทางการเมืองที่กำลังบ่อนทำลายกฎหมายในประเทศไทยนั่นเอง

ไอซีซีร่วมสังเกตการณ์

ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. ได้กล่าวถึงจดหมายปรับทุกข์ของแกนนำ นปช. ที่ถูกจำคุกที่ส่งถึงผู้พิพากษา 1,300 คนทั่วประเทศว่า เพื่อให้รับรู้ถึงความไม่ชอบมาพากลและความไม่ยุติธรรมในคดีที่แกนนำ นปช. ถูกกล่าวหา นอกจากนี้ยังได้รับจดหมายตอบกลับจากไอซีซีว่าจะรับพิจารณาเรื่องการส่งพยาน มาสังเกตการณ์การพิจารณาคดีคนเสื้อแดงในประเทศไทย แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมก็ตาม

ขณะที่ น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่า รัฐบาลพยายามใส่ร้ายคนเสื้อแดงทั้งที่ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นชายชุดดำหรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าคนเสื้อแดงมีอาวุธ แต่กลับสั่งการให้สังหารหมู่แถมยังทำลายหลักฐาน อาทิ เซ็นทรัลเวิลด์ที่ระบุว่าคนเสื้อแดงเป็นคนเผา แต่มีหลักฐานชัดเจนว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการ จึงน่าสงสัยว่าเป็นการทำลายหลักฐานหรือไม่

นอกจากนี้ยังใช้คำว่า “ปรองดอง” เป็นหน้ากากที่น่าละอาย โดยอ้างถึงความปรองดองแต่กลับจับกุมคุมขังแกนนำ นปช. โดยตั้งข้อหาก่อการร้ายที่มีโทษถึงประหารชีวิต ทำให้มีปัญหาในกระบวนการยุติธรรม ขณะที่การสอบสวนข้อเท็จจริงกว่า 9 เดือนก็ไม่มีผลสรุปที่ชัดเจนใดๆ จึงต้องยื่นร้องต่อไอซีซี ซึ่งการต่อสู้ครั้งนี้ทำเพื่อให้ได้ความยุติธรรมต่อคนเสื้อแดง รวมทั้งรัฐบาลอิตาลีและญี่ปุ่นที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย เชื่อว่าอัยการไอซีซีเมื่อรับข้อมูลไปและศึกษาอย่างดีแล้วน่าจะยื่นฟ้องกับ ไอซีซีต่อไป เพื่อยุติการกระทำที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

“จริงๆแล้วคนไทยคงต้องถามตัวเองว่าปล่อยให้ผู้นำรัฐบาลที่สั่งปราบปราม ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ยังลอยหน้าลอยตาเป็นนายกฯอยู่ต่อไปได้อย่างไร”

แม่น้องเกดชวดชี้แจงอังกฤษ

ส่วนความเคลื่อนไหวอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือกรณีที่สภาสูงประเทศอังกฤษ (House of Lord) ได้มีหนังสือเชิญตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ไปชี้แจงในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ “น้องเกด” น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม และนายสันติพงษ์ อินจันทร์ (น้องเบิร์ด) เหยื่อจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายนจนทำให้ตาบอด ที่จะเดินทางไปชี้แจงนั้น สถานทูตอังกฤษกลับไม่อนุมัติคำร้องขอวีซ่าดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีไม่เพียงพอมีพอแค่เดินทางไปและกลับ

เช่นเดียวกับ “น้องเบิร์ด” ที่ระบุว่าได้แนบกอง ทุนธนาคารกรุงไทยจำนวน 1 ล้านบาทไปด้วย แต่กลับไม่ได้รับอนุมัติวีซ่าเช่นกัน

นางพะเยาว์จึงตั้งข้อสงสัยว่าคำเชิญดังกล่าวนั้นทางสภาสูงอังกฤษมีตั๋ว เครื่องบิน ที่พัก และรายละเอียดการเดินทางมาให้หมดแล้ว จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องเงินในบัญชี เชื่อว่ามีการใช้อำนาจรัฐแทรกแซงขัดขวางเพื่อไม่ให้ไปให้ข้อเท็จจริง เพราะการชี้แจงความจริงเท่ากับเป็นการประจานความเหี้ยมโหดของรัฐบาลและกอง ทัพที่กระทำกับประชาชน ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าเธอจะเดินทางไปที่ไหนก็จะมีคนแปลกหน้าคอยติดตามตลอด ทำให้รู้สึกเครียดและกดดันมาก ในวันนี้ประเทศไทยไม่มีใครเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว เพราะไม่มีใครในโลกที่จะสังหารพยาบาลอาสาที่กำลังช่วยผู้บาดเจ็บ

อย่างไรก็ตาม นางพะเยาว์ได้บันทึกเทปวิดีโอส่งมอบให้กรรมาธิการสภาสูงของอังกฤษแล้ว และหากได้รับอนุญาตก็พร้อมจะให้ข้อมูลผ่านทางวิดีโอลิ้งค์

ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. กล่าวว่า กรณีสถานทูตอังกฤษไม่ยอมออกวีซ่าให้นางพะเยาว์และนายสันติพงษ์เพราะมีการ พยายามปิดกั้นไม่ให้ข้อมูลการสังหารหมู่ถูกเผยแพร่ออกไป ทั้งกล่าวหาว่าทูตอังกฤษเข้ามายุ่งกับการเมืองภายในของไทย และมีการรับเงินเดือนจากบริษัทน้ำเมารายใหญ่ของไทยที่ใกล้ชิดกับกลุ่ม อำมาตย์

สื่อต่างชาติร่วมประจาน

นอกจากนี้นิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังของเยอรมนี “แดร์ ชปีเกิล” ได้สัมภาษณ์นายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีภาพไม่แตกต่างจากพม่าที่มี “ทหาร” เป็นผู้กุมอำนาจที่แท้จริง และยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ยังมีสถานะเป็น “พลเมือง” ของสหราชอาณาจักรหากยังไม่มีการประกาศสละสัญชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ รัฐบาลที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชน ขณะที่กระบวนการสอบสวนในประเทศไทยก็มีการสกัดกั้นไม่ให้มีการเรียกตัวบุคคล ในกองทัพมาสอบสวน

ด้านวอลล์สตรีท เจอร์นัล เอเชีย รายงานว่า ยังไม่รู้ว่าไอซีซีจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาไต่สวนหรือไม่ แต่โฆษกหญิงคนหนึ่งของไอซีซีให้ความเห็นว่า โดยทั่วไปแล้วไอซีซีไม่สามารถให้ความเห็นใดๆได้ต่อกรณีที่มีการยื่นคำร้อง เช่นนี้ รวมถึงการที่ประเทศไทยไม่ได้เป็น 1 ในภาคี 144 ชาติของไอซีซีจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในกรณีนี้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าตั้งแต่มีการก่อตั้งไอซีซีขึ้นเมื่อปี 2002 ได้มีการพิจารณาและตัดสินความผิดของผู้ต้องหาที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิ มนุษยชนไปแล้วทั้งสิ้น 16 ราย ในประเทศยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เคนยา และแคว้นดาฟัวร์ของซูดาน ซึ่งซูดานไม่ได้เป็นภาคีของไอซีซีเช่นเดียวกับไทย

ทั่วโลกหัวใจดวงเดียวกัน

ด้านนายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนบันทึกหลังอ่านรายงานของนายอัมสเตอร์ดัมว่า ไอซีซีจะรับฟ้องหรือไม่ก็มีประเด็นทางการเมืองที่สำคัญกว่า 3 ข้อคือ

ข้อแรก การกดดันไปที่ไอซีซีว่าจะตัดสินใจทำ อย่างไร อย่างน้อยก็ทำให้คดีพร้อมจะไต่สวนเบื้องต้นได้ทันทีหากคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติจะอนุญาตให้ไอซีซีมีเขตอำนาจ (เหมือนซูดาน) แม้ประเทศไทยเส้นใหญ่มากก็ตาม แต่อย่างน้อยการกดดันให้ไอซีซีต้องเข้ามาตรวจสอบก่อนก็น่าจะเป็นการดีมาก

ข้อสอง เป็นรายงานที่มีการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไว้เสร็จหมดแล้ว หากไอซีซีไม่รับเพราะข้ออ้างไม่มีเขตอำนาจก็เป็นการผลักลูกบอลกลับไปที่ รัฐบาลไทยต้องให้สัตยาบันโดยเร็ว

ข้อสาม ประเด็นสังหารหมู่ถูกโหมกระพือไปทั่วโลก นับเป็นความชาญฉลาดของนายอัมสเตอร์ดัมที่เลือกญี่ปุ่นเป็นที่แถลงข่าว แต่ช่วยไม่ได้ รัฐบาลไทยดันไม่ฉลาด ไปห้ามนายอัมสเตอร์ดัมเข้าเมืองไทยเอง

นายปิยบุตรจึงให้จับตา 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ 1.รัฐบาลไทยและนายอภิสิทธิ์จะว่าอย่างไรกรณีเขตอำนาจศาลไอซีซีแบบ ratione personae แม้นายอภิสิทธิ์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษแล้ว แต่ก็ถือว่านายอัมสเตอร์ดัมเก็บความลับได้ดีมากก่อนจะเปิดเผยออกมา

2.ความรับผิดชอบของรัฐบาลไทยจะทำอย่างไร เงียบ ล็อบบี้สหรัฐอเมริกา ล็อบบี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือรัฐประหาร?

ไม่ว่านายอภิสิทธิ์และกองทัพจะพยายามปกปิดหรือบิดเบือนความจริงเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” อย่างไร แต่วันนี้หลักฐานต่างๆก็ถูกประจานไปทั่วโลกอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งสามารถอ่านและดาวน์โหลดข้อมูล วิดีโอเหตุการณ์ และถ้อยคำเบิกความของพยานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บได้อย่างละเอียดที่ www.thaiaccountability.org รวมถึงสำเนาคำฟ้องไอซีซีและเอกสารประกอบที่ www.robertamsterdam.com/thailand

อย่างที่นายอัมสเตอร์ดัมแถลงว่า วันนี้ทั่วโลกมีหัวใจดวงเดียวกันที่จะสนับสนุนให้คนเสื้อแดงต่อสู้ต่อไป เพราะทั่วโลกได้รับรู้ถึงการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคดีที่ยื่นฟ้อง แต่เราก็ได้แสดงให้ทั่วโลกรับรู้ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์คือคนร้ายที่เข่นฆ่าประชาชน!

แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิดการสังหารหมู่ประชาชนครั้ง ยิ่งใหญ่ โดยรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”

ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับฟ้องเป็นคดีหรือไม่ อีกไม่นานเกินรอคงได้คำตอบ แต่การเดินสายประจานฟ้อง (ศาล) โลกได้เริ่มต้นนับหนึ่งแล้ว!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 297 วันที่ 5 –  11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน้า 16-17 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน



Put Some Pressure on Thailand

Put Some Pressure on Thailand
Robert Amsterdam

From my latest on Huffington Post:

It has been particularly heartening to see Germany’s decision to halt the sale of of military equipment – in the specific instance, engines that power Ukrainian-made armored personnel carriers – to the Royal Thai Army, citing EU rules which prohibit the sale of arms to “governments that systematically use violence to suppress or deny the rights of their citizens.” Thailand is finally beginning to be treated like the violent authoritarian state and serial human rights abuser that it is, rather than the sunny, smiling illusion once held in much of the West.

Until other major allies such as the United States, Japan, and other European states make it clear to the Thai elites that there are consequences for these open breaches of international law and indiscriminate use of state violence against citizens, they will see no incentive for change. Of course, one assumption is that international isolation is a price that the Thai elites are prepared to pay in order to maintain their grip on power. The potential ramifications of such a strategy are very worrying and the window for the international community to act before more state violence is unleashed may be tiny.

What is becoming clearer is that with Thailand’s internal opposition being rapidly degraded by the ongoing repression, fewer checks and balances remain on the excessive actions of the Thai regime. The international community, and bodies such as Amnesty International (whose tacit acceptance of lese majeste imprisonments is problematic), need to implement a coherent campaign where it is made clear that the Thai regime will be held to account should they continue on their path of violence and oppression.

Faced with a regime that “cling[s] to power through corruption and deceit and the silencing of dissent,” as President Obama put it in his inaugural address, the rest of the world has an obligation not to “extend a hand” until the Thai government decides to unclench its fist.


History Lessons for Abhisit

History Lessons for Abhisit
Robert Amsterdam

Since coming to power in 2008, Prime Minister Abhisit Vejjajiva has repeatedly shown his determination to avoid an election at all costs. A hundred lives were lost in Bangkok in April and May, just so Abhisit could spend more time in an office he never could have won for himself without the assistance of the military, the judiciary, and the People’s Alliance for Democracy.

Now that countless non-governmental organizations and independent media outlets have called on Abhisit to show his commitment to “reconciliation” by calling an election that would allow the people to render their own judgment of recent events, a new excuse has been added to the Prime Minister’s lexicon. “The government will hold a general election only when the country has peace and order,” Abhisit reiterated just recently.

By the standard of any democratic country, the fact that a sizable portion of the country’s citizens hate the government with a passion is not a good excuse to deny them a vote and exempt the government from accountability. Peace has never been a precondition for democracy; if anything, democracy is rather more often a precondition for peace. The government’s argument is all the more absurd if we consider that the very reason why Thailand does not have “peace and order” is that Abhisit continues to hold office illegitimately and has unleashed a measure of repression that is unprecedented for a civilian government. What is more, the government probably has a hand in the wave of bombings responsible for the current climate of fear.  Even if we interpret Abhisit’s pronouncement as referring exclusively to Thailand’s “unique” circumstances, the patronizing notion that Thailand is only capable of holding an election in conditions of peace and tranquility flies in the face of the country’s history.

Abhisit would not have studied this at Eton and Oxford, so it may be worth reminding him that Thailand held its first ever elections, in October-November 1933, at a time when the new government was fighting a violent rebellion led by Prince Bowaradej. Back then, the elections did not take place on a single date, as the system that was adopted called for an indirect method of voting – voters elected tambon (subdistrict) representatives, who would in turn meet to elect changwat (provincial) representatives to the National Assembly. As a result, election dates were staggered across a two-month period that overlapped with a violent rebellion actively supported by the upper echelons of Thailand’s old regime – among them, serving parliamentarians and state officials.

Though ultimately defeated, Bowaradej’s rebels pushed the government to the brink of collapse. At one point, in mid-October, they occupied Don Muang airport and threatened Bangkok directly. It was only thanks to the use of heavy artillery that government forces led by then Colonel Luang Phibulsongkram defeated the rebels on the outskirts of Bangkok and then annihilated the remaining forces who had managed to retreat back to their stronghold in Nakorn Rachasima. Weeks of heavy fighting left hundreds of people dead, while King Prajadhipok fled south to Songkhla.

Though the government then led by Col. Phraya Pahol was shaken to the very core by the Boworadej rebellion, it did not use the insurrection as an excuse to delay the election. While turnout was low, the elections took place without incident or disruption, in the face of a possible civil war. In the eight decades since, Thailand has regularly held elections in circumstances of upheaval and deep division. In every instance, the voters have shown themselves to be more mature and more committed to democracy than their own leaders.

Lest he continue to embarrass himself with this anachronistic nonsense, Abhisit would benefit from a remedial crash course in Thai history. In the process, he might also discover that elections are democratic not in spite of active opposition to the government, but because of it.

Thailand’s 2007 Constitution provides that elections be at least every four years. Will Abhisit suspend the constitution and strip the Thai people of their right to vote, if the situation is not deemed peaceful enough in fifteen months time? Is this the Establishment’s end game – engineer enough instability to make a general election seem “impossible”?


ประเทศไทยต้องมีการเลือกตั้ง

แปลจาก Thailand Must Hold Elections

เดอะ คาเนเดี้ยน เพรส (The Canadian Press) รายงานข่าวโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม แถลงข่าวที่โตเกียว

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดการกลุ่มคนเสื้อแดงที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ ชี้ให้เห็นชัดว่า รัฐบาลไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและกลัวการกลับมาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ผู้ซึ่งรัฐบาลได้เรียกว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ที่อยู่เบื้องหลังความไม่สงบต่างๆ

พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกยึดอำนาจโดยคณะรัฐประหาร ใน พ.ศ. 2549

การเลือกตั้งใหม่ เป็นข้อเรียกร้องสูงสุดของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ที่ประกอบไปด้วยประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด, คนยากจน, นักประชาธิปไตย, และนักการเมืองฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ แม้ขณะนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โดยกำลังถูกดำเนินคดีข้อหาทุจริต คอร์รัปชั่น แต่ยังคงมีผู้ที่จงรักดีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากนโยบายที่ช่วยคนจน ชาวรากหญ้า ให้ได้ลืมตาอ้าปากได้

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้ออกหมายจับ พ.ต.ท. ทักษิณ ในข้อหาก่อการร้ายด้วย ซึ่งนายอัมสเตอร์ดัมเห็นว่า เป็นการเดินเกมที่ผิดพลาดและยังลดโอกาสในการได้ตัว พ.ต.ท. ทักษิณ กลับมารับโทษ เนื่องจากข้อหาที่ตั้งขึ้นมา เป็นข้อหาหนัก

“ผมคิดว่าพวกเขา (รัฐบาลไทย) เดินเกมผิดพลาดอย่างแรง ที่ไปกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทำให้โอกาสที่จะร้องขอให้ต่างประเทศส่งตัว พ.ต.ท. ทักษิณ กลับมารับโทษในไทยริบหรี่ลงไป เพราะข้อหาเหล่านี้เป็นข้อหารุนแรง มีโทษถึงประหารชีวิต..”

“คนเหล่านี้ (รัฐบาลไทยและผู้อยู่เบื้องหลัง) เกรงกลัวทักษิณ” นายอัมสเตอร์ดัม กล่าวต่อ “พวกเขากลัวคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแท้จริง..”

Resource: Thailand Must Hold Elections

The Canadian Press covers the Robert Amsterdam press conference in Tokyo.

Robert Amsterdam, who represents Thaksin, said the government’s handling of the Red Shirt protests demonstrated it does not have the support of the people and fears the return of Thaksin, whom it has called a terrorist for allegedly fomenting the unrest.

Thaksin was ousted in a 2006 coup.

New elections are a top demand of the Red Shirt movement, which is made up of urban and rural poor, democracy activists and politicians loyal to Thaksin. Now in self-exile in Europe, Thaksin faces charges of corruption and abuse of power but commands a strong following because of his populist policies.

The Thai government has also issued a warrant for Thaksin’s arrest on terrorism charges, a move Amsterdam said was a tactical mistake.

“I think they made a serious mistake in calling him a terrorist,” Amsterdam said. “I think they have reduced their chances of any country extraditing him” because of the possibility of a death penalty that the charges carry.

“These people are scared of Thaksin,” he said. “They are scared of someone elected by the people.”



อัมสเตอร์ดัมตอบโต้เดอะเนชั่น

จากการที่ บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่นได้โจมตีทีมทนายของ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม และ ศาสตราจารย์ นูปส์ (Professor Knoops) ซึ่งได้รับการว่าจ้างจาก พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้มาสืบสวนการที่มีการสั่งทหารฆ่าประชาชน ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยบทบรรณาธิการดังกล่า ได้พูดถึงทีมทนายจากอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ในทำนองว่า ไม่มีความเป็นกลาง และไม่น่าเชื่อถือ  นั้น

ล่าสุด นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ออกมาตอบโต้ เดอะเนชั่น โดยบทความที่ชื่อว่า The Hyperreality of Thai Propaganda: A Response to the Nation มีใจความสำคัญคือ

“หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ได้พาดพิงถึงงานที่ผม (โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม) ทำอยู่ โดยนอกจากการโจมตี การกล่าวเท็จ และการเติมเชื้อไฟใส่สถานการณ์ทางการเมืองแล้ว ยังได้พยายามทำให้การสืบสวนในเรื่องสิทธิมนุษยชน และอาชญากรรมสงคราม (ซึ่งทางการไทยได้ก่อขึ้น) ที่ผมทำอยู่ หมดความน่าเชื่อถือ..”

“ตามปกติ ผมจะไม่ใส่ใจสิ่งเหล่านี้ (การโจมตี การกล่าวร้ายให้หมดความน่าเชื่อถือ) แต่ว่า นี่เป็นเรื่องที่คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ และบทบรรณาธิการดังกล่าว ยังได้มีการเอนเอียงเข้าข้างรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัด นี่คือประเทศที่เพิ่งจะมีการสังหารประชาชน (และทหาร) ถึง 88 ศพ บนท้องถนนกรุงเทพฯ แต่สื่อมวลชนกลับใช้เวลาส่วนใหญ่ ไปกับการโจมตีทีมทนาย และการเสกสรรปั้นแต่งเรื่องขึ้นมาแก้ตัว เวลาส่วนที่เหลือคือ การโจมตีสำนักข่าว CNN โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร..”

นอกจากนี้ นายอัมสเตอร์ดัมยังได้แสดงความเห็นว่า สำนักข่าวทั่วไป ก่อนจะออกบทบรรณาธิการ ควรจะตรวจเช็คแหล่งข่าวที่ตนพาดพิงถึงเสียก่อน แต่ทางเดอะเนชั่นกลับไม่ได้ติดต่อมาทางตนหรือ ศาสตราจารย์ นูปส์ แต่อย่างใด เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของทีมทนาย (อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์) ที่ต้องการค้นหาความจริง  จึงควรให้มีการรวบรวมหลักฐานต่างๆ รวมทั้งตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยองค์กรสากลที่เป็นกลาง อีกทั้งสิ่งที่ตนได้นำเสนอเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึงเป็นไปในทางเดียวกับ องค์กรนิรโทษกรรมสากล และกลุ่ม Human Rights Watch

ในตอนท้ายของบทความที่นายอัมเตอร์ดัมเขียนขึ้น ยังได้บอกว่า ปัญหาจากการที่รัฐบาลได้ปิดกั้นสื่อต่างๆ นั้น เริ่มทำให้ชนชั้นสูงที่อยู่ในกรุงเทพฯ เริ่มจะแยกแยะไม่ออก ระหว่างความจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นมาสร้างภาพเกินจริง และยังได้อ้างคำสัมภาษณ์ของ นายกรณ์ จาติกวณิช ที่ว่า คนเสื้อแดงยิงกันเองเพื่อใส่ร้ายป้ายสีรัฐบาล กล่าวคือ พวกเรากำลังถูกขอให้เชื่อว่า คนเสื้อแดงฆ่ากันเอง

นายอัมสเตอร์ดัม กล่าวปิดท้ายว่า “หากกลุ่มทหารและชนชั้นสูง เชื่อในสิ่งเหล่านั้น (คนเสื้อแดงฆ่ากันเองเพื่อใส่ร้ายรัฐบาล) ก็ต้องถือว่า รัฐบาลจะต้องเจอปัญหาหนักจากการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระแน่ๆ หากมีการรวบรวมหลักฐานขึ้นมาจริงๆ..”