เปิดดูรายงานประจำปี “ฮิวแมนไรท์วอท์ช”… คำสัญญารัฐบาลยังไม่เป็นจริง

ฮิวแมนไรท์วอท์ช องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ออกรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก ในส่วนของสถานการณ์ในประเทศไทย ระบุว่า ความไร้เสถียรภาพ และการแบ่งขั้วทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปในปี 2553 ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นครั้งคราว ในช่วงที่เกิดการต่อสู้กันบนท้องถนนด้วยสาเหตุทางการเมืองระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 2,000 คน ขณะที่คำสัญญาสาธารณะของรัฐบาลไทยที่กล่าวไว้ว่า จะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน ความปรองดองทางการเมือง และความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมา

มกราคม 2554

สรุปสถานการณ์ประเทศไทย

ความไร้เสถียรภาพ และการแบ่งขั้วทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปในปี 2553 ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นครั้งคราว ในช่วงที่เกิดการต่อสู้กันบนท้องถนนด้วยสาเหตุทางการเมืองระหว่างเดือน มีนาคมถึงพฤษภาคม มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 2,000 คน คำสัญญาสาธารณะของรัฐบาลไทยที่กล่าวไว้ว่า จะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน ความปรองดองทางการเมือง และความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมา

ความรุนแรงทางการเมือง

ภายหลังจากที่เริ่มการชุมนุมอย่างค่อนข้างสันติมาได้หนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 7 เมษายน ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ได้เคลื่อนขบวนไปบุกรัฐสภา ทำให้คณะรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภาต้องหนีออกจากอาคาร นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และทหารขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์ และบังคับใช้อำนาจฉุกเฉิน

ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน ศอฉ. ระดมทหารนับพันนายเพื่อพยายามยึดพื้นที่สาธารณะคืนจากการครอบครองของ นปช. หรือ “คนเสื้อแดง” การดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงรอบๆ บริเวณสะพานผ่านฟ้า ตกกลางคืนทหารถูกกองกำลังติดอาวุธที่เรียกว่า “คนชุดดำ” ซุ่มโจมตีด้วยอาวุธหนัก ทั้งนี้ กองกำลัง “คนชุดดำ” ดังกล่าวมีความเกี่ยวโยงกับ นปช. และปฏิบัติการคู่ขนานกันไปกับ นปช. ขณะเดียวกันก็มีการ์ด นปช. และผู้ประท้วงบางคนใช้อาวุธ เช่น ปืนพก วัตถุระเบิดที่ทำขึ้นเอง ระเบิดเพลิง และหนังสติ๊กโจมตีทหาร ในระหว่างที่ทหาร ซึ่งอยู่ในภาวะแตกตื่นล่าถอยนั้น ทหารได้ยิงกระสุนจริงเข้าใส่ผู้ประท้วง รัฐบาลรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 26 คน (รวมทั้งทหารห้าคน) และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 960 คน (รวมทั้งทหาร 350 คน) ในเหตุการณ์ครั้งนี้

ระหว่างวันที่ 23 และ 29 เมษายน กลุ่มการ์ดติดอาวุธของ นปช. บุกเข้าค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทุกคืน โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางคนยินยอมให้ทหาร และผู้สนับสนุนรัฐบาลเข้ามาใช้โรงพยาบาลเป็นสถานที่หลบซ่อนตัว ทำให้โรงพยาบาลต้องย้ายคนไข้ออกไป และปิดการให้บริการเกือบทั้งหมดเป็นการชั่วคราว

การเจรจาระหว่างสองฝ่ายในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมตามข้อเสนอ 5 ข้อของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ต้องล้มเลิกไป เมื่อพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของทักษิณ ได้ร่วมมือกับแกนนำหัวรุนแรงคนอื่นๆ พยายามยึดอำนาจจากแกนนำของ นปช. กลุ่มที่พยายามเดินสายกลาง ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ประกาศเตือนว่ารัฐบาลวางแผนสลายการชุมชนของ นปช. ที่บริเวณแยกราชประสงค์

ระหว่างที่กองกำลังของรัฐบาลเคลื่อนเข้าโอบล้อมบริเวณที่ชุมนุมของ นปช. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมนั้น มือปืนไม่ทราบฝ่ายลอบยิงพลตรี ขัตติยะ ซึ่งเขาเสียชีวิตในอีกสี่วันต่อมา ความรุนแรงยกระดับสูงขึ้นเมื่อผู้ประท้วงฝ่าย นปช. และกองกำลัง “คนชุดดำ” เริ่มต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่มาโอบล้อมที่มั่นของพวกตน ศอฉ. ประกาศกฎการปะทะ ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้กระสุนจริงได้ในกรณีต่อไปนี้ คือ

1)    เป็นการยิงเตือนเพื่อป้องปรามไม่ให้ผู้ประท้วงเคลื่อนเข้ามาประชิด

2)    เป็นการป้องกันตัว และ

3)    เมื่อเจ้าหน้าที่มองเห็น “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ให้คำนิยามที่ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติการจริงนั้น พลซุ่มยิงของกองทัพยิงทุกคนที่ล้ำเข้าไปเขต “ห้ามเข้า-ออก” ระหว่างแนวเครื่องกีดขวางของฝ่าย นปช. กับแนวของทหาร หรือใครก็ตามที่ขว้างปาสิ่งของใส่ทหาร นอกจากนี้ บางครั้งทหารก็ยิงเข้าใส่ฝูงชนฝ่ายผู้ประท้วงด้วยเช่นกัน

วันที่ 19 พฤษภาคม รัฐบาลเริ่มปฏิบัติการทางทหารเพื่อยึดพื้นที่คืนรอบๆ บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งนำไปสู่การสู้รบกันบนท้องถนนอีกครั้งหนึ่ง โดยทหารใช้กระสุนจริง ขณะที่ผู้ประท้วงฝ่าย นปช. บางส่วน และกองกำลัง “คนชุดดำ” ก็ยิงต่อสู้กับทหาร ประมาณเที่ยงวันแกนนำคนสำคัญของ นปช. ยอมเข้ามอบตัว ส่วนผู้ประท้วงนับพันพากันไปหาที่หลบภัยในวัดปทุมวนาราม ซึ่งถูกประกาศให้เป็นเขตปลอดภัย (“เขตอภัยทาน”) โดยการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง นปช. กับรัฐบาลก่อนหน้านี้

การสอบสวนขององค์การฮิวแมนไรท์วอท์ช โดยอาศัยปากคำของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานทางนิติเวชวิทยาพบว่า ทหารใช้ปืนยิงใส่ผู้ที่เข้ามาหลบภัยอยู่ในวัด ทำให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์อาสา และประชาชนเสียชีวิตหกคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายคน ภายหลังจากการเข้ามอบตัวของแกนนำ นปช. ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่ง และกองกำลัง “คนชุดดำ” ก็เริ่มบุกปล้นสะดม และวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และสถานที่อื่นๆ ในกรุงเทพเป็นเวลาสองวัน นับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการดังกล่าวมีลักษณะของการวางแผนประสานงานกัน อนึ่ง ก่อนหน้านี้ แกนนำคนสำคัญของ นปช. ยุยงให้ผู้ที่สนับสนุนฝ่ายตนลงมือปล้นสะดม และวางเพลิง ถ้าหากรัฐบาลใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของ นปช.

การต่อสู้กันบนท้องถนนทำให้ผู้สื่อข่าว และช่างภาพได้รับบาดเจ็บอย่างน้อยเก้าคน โดยมีผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติเสียชีวิตสองคน กลุ่มผู้ประท้วง นปช. บุกเข้าเผาสำนักงานใหญ่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในกรุงเทพฯ และเผาสำนักงานสาขาในต่างจังหวัดของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม โดยกล่าวหาว่าสถานีทั้งสองแห่งรายงานข่าวด้วยอคติเข้าข้างรัฐบาล

ในวันเดียวกันนั้น ผู้สนับสนุน นปช. ในต่างจังหวัดได้ก่อจลาจล และเผาสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายในจังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และมุกดาหาร ในเหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงยิงปืนเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสามคน และบาดเจ็บอีกนับสิบคน

ตลอดปี 2553 มีการโจมตีด้วยระเบิดในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ หลายครั้ง โดยมีเป้าหมาย คือ สถานที่ราชการ และค่ายทหาร รวมทั้งการใช้ระเบิดโจมตีกลุ่มการเมือง บริษัท และทรัพย์สินของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับ นปช. ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 22 เมษายน มีการยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าใส่กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลใกล้แยกศาลาแดง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน และบาดเจ็บอีก 85 คน

เพื่อปูทางไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ สนับสนุนให้มีการสอบสวนด้วยความเป็นกลางเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิด ขึ้นจากกระทำของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม นปช. กล่าวว่ากระบวนการสอบสวนนี้ไม่เป็นอิสระ และไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง รวมทั้งยังขาดความร่วมมืออย่างเต็มที่จากกองทัพ จนถึงขณะนี้ การสอบสวน ทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และโดยคณะกรรมาธิการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดอง (คอป.) ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษยังมีความคืบหน้าน้อยมาก

การควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 7 เมษายน รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดในการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัด

พระราชกำหนดฉบับนี้อนุญาตให้ ศอฉ. สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีข้อกล่าวหาได้นาน 30 วันในสถานที่คุมขังที่ไม่เป็นทางการ และยังให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ไม่ให้ถูกดำเนินคดีที่เกิดขึ้นจากการ กระทำส่วนใหญ่ที่เป็นการบังคับใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนด

ศอฉ. ทำการสอบสวน จับกุม และควบคุมตัวแกนนำ และสมาชิกของ นปช. ที่ร่วมในการประท้วง รวมทั้งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสนับสนุน นปช. นอกจากนี้ ศอฉ. ยังได้ออกหมายเรียกบุคคลอีกนับร้อยมาสอบสวน ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักธุรกิจ นักกิจกรรม นักวิชาการ และผู้จัดรายการวิทยุ รวมทั้งยังอายัติบัญชีธนาคารของบุคคล และบริษัท ตลอดจนได้ควบคุมตัวบุคคลบางคนไว้ในเขตทหาร ศอฉ. ออกคำสั่งให้ผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติ ผู้สื่อข่าวไทย และเจ้าหน้าที่ในหน่วยแพทย์อาสาไปรายงานตัวต่อกองบัญชาการของ ศอฉ. และแสดงหลักฐานยืนยันคำแถลงต่อสาธารณะของบุคคลเหล่านั้นที่ระบุว่า พวกตนเห็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขณะที่องค์การฮิวแมนไรท์วอท์ชเขียนรายงานสรุปสถานการณ์ประจำปีนี้ รัฐบาลยังไม่แสดงข้อมูลว่า บุคคลที่ถูก ศอฉ. ควบคุมตัวไว้ โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหานั้น มีจำนวนทั้งสิ้นเท่าไร และบุคคลเหล่านั้นถูกควบคุมตัวอยู่ที่ไหน

การปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ศอฉ. อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินปิดเว็บไซต์มากกว่า 1,000 แห่ง และปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหนึ่งสถานี รวมทั้งยังได้ปิดช่องโทรทัศน์ออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสถานีวิทยุชุมชนอีกมากกว่า 40 สถานี โดยสื่อมวลชนต่างๆ ที่ถูกปิดเกือบทั้งหมดนั้นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกับ นปช.

นอกจากนี้ รัฐบาลยังอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และข้อหาเรื่องการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเป็นเครื่องมือปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต และดำเนินคดีกับผู้ที่ต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับ นปช. โดยกล่าวหาบุคคลเหล่านั้นว่าเป็นผู้ที่สร้างกระแสต่อต้านสถาบันพระมหา กษัตริย์ และเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ จีรนุช เปรมชัยพร เว็บมาสเตอร์ของประชาไท ถูกจับเมื่อวันที่ 24 กันยายน ด้วยข้อหาการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการส่งข้อความจากผู้อ่านที่ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นสถาบันพระมหา กษัตริย์เข้ามายังกระดานสนทนาของเว็บไซต์ประชาไทเมื่อปี 2551

นโยบายการต่อต้านยาเสพติดที่ละเมิดสิทธิ มนุษยชน

รัฐบาลสนับสนุนให้มีการรื้อพื้นการสอบสวนกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาว่าพัวพัน กับการค้ายาเสพติดจำนวน 2,819 คนถูกสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการประกาศ “สงครามยาเสพติด” เมื่อปี 2546 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความคืบหน้าน้อยมาก ทั้งในส่วนของการนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม และในส่วนของการยุติการกระทำทารุณอย่างเป็นระบบของตำรวจ และการใช้อำนาจโดยมิชอบในปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด ในเดือนมิถุนายน 2553 ตำรวจจังหวัดราชบุรียิง และสังหาร มานิตย์ ตุ้มเมือง ผู้ต้องสงสัยในคดีค้ายาเสพติด ขณะที่เขาถูกใส่กุญแจมือ และอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ

ยังคงมีความห่วงใยต่อการนำผู้ใช้ยาเสพติดไปควบคุมตัวในศูนย์บังคับบำบัด การติดยาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกองทัพ และกระทรวงมหาดไทย โดย “การบำบัด” ดังกล่าวนั้นอาศัยการออกกำลังกายตามแบบทหาร โดยมีการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์น้อยมากในกรณีที่เกิดอาการลงแดง

ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

องค์การฮิวแมนไรท์วอท์ชแสดงความห่วงใยต่อข้อกล่าวหาว่า มีการปฏิบัติที่ไม่ชอบต่อผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบที่ ถูกคุมขัง สืบเนื่องมากจากกรณีการเสียชีวิตของสุไลมาน นะแซ ในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ชาวมุสลิม และกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ยังมีข้อร้องเรียนมากขึ้นเกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้ กำลังอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการลอบสังหารครูสอนศาสนา และผู้นำชุมชนที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนพัวพันกับการแบ่งแยกดินแดน โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินคดีอาญาที่บรรลุผลสำเร็จในกรณีเหล่านั้นแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 1 กันยายน ตำรวจยกเลิกการตั้งข้อหาทางอาญาต่อสุทธิรักษ์ คงสุวรรณ สมาชิกกองกำลังติดอาวุธที่ได้รับการฝึกอบรมจากกองทัพบก ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำการบุกโจมตีผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มัสยิดอัลฟา ร์กอน เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน และบาดเจ็บอีก 12 คน

กลุ่มแบ่งแยกดินแดนยังคงโจมตี และสังหารพลเรือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงครูโรงเรียนรัฐบาล รวมทั้งยังได้ข่มขู่คุกคามครู และผู้บริหารโรงเรียนรัฐบาล จนทำให้ต้องมีการปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราว เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเข้ายึดครองโรงเรียนบ่อยครั้ง และได้เปลี่ยนโรงเรียนเป็นค่ายทหาร ซึ่งส่งผลกระทบที่บั่นทอนคุณภาพของการศึกษา ผู้ก่อความไม่สงบได้รับนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเข้าร่วมขบวน การ และมีบทบาทต่างๆ ในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธต่อสู้กับรัฐบาล เช่น ให้ทำหน้าที่เป็นสายข่าว หรือวางเพลิงเผาสถานที่ต่างๆ ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงก็บุกเข้าไปในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พร้อมกับควบคุมตัวครู และนักเรียนมาสอบปากคำหลายครั้ง

ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงความคุ้มครองในฐานะผู้ลี้ภัย และคนงานย้ายถิ่น

รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของทางการไทยละเมิดหลักการระหว่างประเทศ โดยมีการส่งตัวผู้ลี้ภัย และผู้แสวงความคุ้มครองในฐานะผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศที่บุคคลเหล่านั้นอาจ จะถูกลงโทษ ถึงแม้จะมีการแสดงความไม่เห็นชอบจากประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งการคัดค้านอย่างจริงจังโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชา ชาติ และเลขาธิการสหประชาชาติ แต่เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 กองทัพบกก็ดำเนินปฏิบัติการบังคับส่งกลับชาวม้ง 4,689 คนไปยังประเทศลาว ซึ่งรวมถึงผู้ที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุว่าเป็น “บุคคลที่พึงห่วงใย” จำนวน 158 คนด้วย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2553 รัฐบาลไทยส่งตัวชาวพม่าหลายพันคนที่หลบหนีการสู้รบในบริเวณชายแดนกลับไปยัง ประเทศพม่า ก่อนที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจะมีโอกาสประเมินว่า บุคคลเหล่านั้นประสงค์จะเดินทางกลับด้วยความสมัครใจหรือไม่

เมื่อเดือนตุลาคม ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับกุมชาวทมิฬ 128 คน ในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยในจำนวนนี้มีหลายคนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองข่มขู่ว่าจะส่งตัวบุคคลกลุ่มนี้ว่ากลับไปยังประเทศศรี ลังกา

รัฐบาลไทยยังไม่ดำเนินการตามคำสัญญาที่ระบุว่าจะให้มีการดำเนินการสอบสวน ที่เป็นอิสระเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่า เมื่อปี 2551 และ 2552 กองทัพเรือไทยได้ผลักดันเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญาจากประเทศพม่า และบังคลาเทศมาเต็มลำกลับออกไปยังน่านน้ำสากล ซึ่งส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน จนถึงขณะนี้ ชาวโรฮิงญา 54 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์กักกันของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมาตั้งแต่เดือน มกราคม 2552 ยังไม่สามารถเข้าถึงกลไกตรวจสอบสถานะผู้ลี้ภัย หรือได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามความจำเป็นใดๆ อนึ่ง ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้เสียชีวิตในระหว่างที่ถูกควบคุมตัวไปแล้วสองคนเมื่อปี 2552

คนงานย้ายถิ่นจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาวยังคงถูกตำรวจ ข้าราชการ นายจ้าง และเหล่ามิจฉาชีพในท้องที่ต่างๆ ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยแทบจะไม่ได้มีการลงโทษใดๆ ต่อผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนงานย้ายถิ่นเหล่านั้น และยังมีการใช้กฎหมายแรงงานไทยเข้ามาดูแลคนงานย้ายถิ่นน้อยมาก การบังคับใช้โครงการขึ้นทะเบียนเพื่อ “การรับรองสัญชาติ” ที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลทำให้คนงานย้ายถิ่นจำนวนนับแสนคนต้องสูญเสียสถานภาพตามกฎหมาย และทำให้บุคคลเหล่านั้นตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบมากยิ่ง กว่าเดิม ซึ่งรวมถึงการที่ทำให้คนงานย้ายถิ่นหญิงต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อความ รุนแรงทางเพศ และการค้ามนุษย์มากยิ่งขึ้นด้วย

ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน

รัฐบาลไทยมีความคืบหน้าน้อยมากในการสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรณี ที่ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน 20 คนถูกสังหารไปก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงกรณีของทนายความชาวมุสลิม สมชาย นีละไพจิตร ซึ่งถูกทำให้ “สูญหาย” ไปเมื่อปี 2547 และเชื่อได้ว่าเขาถูกสังหารไปแล้ว

ตัวแสดงระหว่างประเทศ

สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรปแสดงความสนับสนุนอย่างแข็งขันให้เกิดความปรองดองทางการเมือง และการฟื้นฟูสิทธิมนุษยชน และระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการเรียกร้องให้รัฐบาล และ นปช. เจรจากัน และขอให้ละเว้นการใช้ความรุนแรง สหประชาชาติจัดให้มีการฝึกอบรม และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่กระบวนการสืบสวนที่มีเป้าหมายในการนำตัวผู้ ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสร้างความรุนแรงทางการเมือง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

เมื่อเดือนตุลาคม นปช. ได้เสนอรายงานต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ผ่านสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศที่ทักษิณเป็นผู้ว่าจ้าง โดยร้องขอให้มีการสอบสวนเรื่องที่มีการกล่าวหาว่า รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของทางการไทยก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในระหว่างที่มีการสลาย การชุมนุมประท้วงของ นปช.

ประเทศไทยให้คำมั่นสัญญาที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหลายประการในการ รณรงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และยังได้สร้างความคาดหวังมากขึ้น เมื่อเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชา ชาติเมื่อเดือนมิถุนายน แต่จนขณะนี้ ยังมีความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำสัญญาเหล่านั้นน้อยมาก

ที่มา : เว็ปประชาไท ผ่าน มติชนออนไลน์ 25 มกราคม 2554



ชกข้ามคุกสนุกแน่ๆครับพี่น้อง!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 265 วันที่ 26 มิถุนายน-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 8
คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน

“มันมีการทำร้ายประชาชน มีการยิงอาวุธใส่ประชาชน ไม่ได้เป็นไปตามที่ได้แถลงก่อนหน้านี้ว่าเป็นการใช้แก๊สน้ำตาเท่านั้น”

“เป็นคนหรือเปล่า กระทำกับบุคคลถึงขั้นเสียชีวิตแล้ว ยังยัดเยียดปรักปรำใส่ร้ายเขาอีกว่าเขาพกอาวุธ”

“การเมืองในวิถีทางประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชนถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้วรัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ”

คำพูดทุกประโยคเป็นของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 หลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ที่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สลายการปิดล้อมรัฐสภาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บกว่า 400 ราย

แต่นายอภิสิทธิ์กลับไม่แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์มหาวิปโยคเดือนเมษายน และพฤษภาคมที่สั่งให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน จนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 ราย และบาดเจ็บเกือบ 2,000 ราย และยังคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน ซึ่งเป็นอำนาจที่ป้องกันการกระทำของรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ศอฉ.) พร้อมกล่าวหาและกวาดล้างคนเสื้อแดงและนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามด้วยข้อหาเป็น “ผู้ก่อการร้าย” และล้มสถาบัน

ผู้นำอังกฤษขอโทษประชาชน

ตรงข้ามกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งจบจากโรงเรียนอีตันและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเหมือนนายอภิสิทธิ์ ที่ได้ออกมาแถลงขอโทษและแสดงความรับผิดชอบการกระทำของรัฐบาลอังกฤษ กับความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งมีกลุ่มใต้ดินและกองกำลังปลดปล่อยไอร์แลนด์เหนือ (IRA) ที่ต่อสู้เพื่อแยกดินแดนและเรียกร้องความ ยุติธรรมตั้งแต่ปี 2514 ทำให้มีการจับกุมชาวไอริชกว่า 30,000 คน โดยรัฐบาลอังกฤษมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและระบุว่าทหารหน่วยปราบปรามจลาจล สลายการชุมนุมผิดหลักสากล ใช้อาวุธปราบปรามผู้ชุมนุมมือเปล่าโดยไม่ได้ส่งสัญญาณเตือน ทำให้ชาวไอริชที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลกลางของอังกฤษในวันที่ 30 มกราคม 2514 เสียชีวิต 13 ราย จนถูกเรียกว่า “วันอาทิตย์นองเลือด” ส่งผลให้ชาวไอริชจำนวนหนึ่งเข้าร่วมกับกลุ่ม IRA เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลอังกฤษ

การออกมาแถลงขอโทษของนายกรัฐมนตรีอังกฤษแสดง ให้เห็นภาวะผู้นำอย่างแท้จริง แม้ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาลนายคาเมรอน แต่ก็ถือเป็นความผิดของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มต้นแผนการปรองดอง “PeaceTalks” โดยเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มการเมือง ซึ่งต่อต้านรัฐบาลอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ปากปรองดอง แต่กระทำปองร้ายกับฝ่ายการเมืองตรงข้ามอย่างไม่หยุดหย่อนเหมือนนายกรัฐมนตรี บางประเทศ

ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง

“ผมสนใจการเมืองเมื่อครั้ง ที่มีอายุ 9-10 ขวบ ที่ระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ได้เห็นคนนับหมื่นนับแสนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนและต่อสู้โดยยอมเอาชีวิต เข้าแลก คุณพ่อได้อธิบายว่าออกมาเรียกร้องสิทธิ ทำให้ผมรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน จึงตัดสินใจตั้งแต่ครั้งนั้นว่าจะเป็นนักการเมือง…ตั้งแต่นั้นมาผมไม่เคย เปลี่ยนใจ”

นั่นคือคำพูดของนายอภิสิทธิ์ ที่ประกาศว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย แต่วันนี้กลับไม่แสดงความรับผิดชอบหรือกล่าวขอโทษประชาชน ทั้งที่เป็นผู้สั่งให้ทหารปราบปรามคนเสื้อแดงจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 ราย และยังพยายามใช้สื่อของรัฐและสื่อกระแสหลักโฆษณาชวนเชื่อและสร้างกระแสเพื่อ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองและ ศอฉ. โดยโยนความผิดไปให้ “ไอ้โม่งชุดดำ” และคนเสื้อแดงว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย

หลังการสังหารหมู่ไม่ถึงเดือน นายอภิสิทธิ์ก็กลับมาเดินสายปราศรัยและประกาศแผนการปรองดอง โดยพยายามตอก ย้ำความเสียหายทางเศรษฐกิจ การตรวจพื้นที่ศูนย์การค้าที่ถูกเผา แต่ไม่พูดถึงคนเสื้อแดงที่ถูกฆ่าและบาดเจ็บ แม้แต่การเลือกตั้งซ่อมที่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินค้ำคอการหาเสียงก็อ้างว่าไม่กระทบกับบรรยากาศการเลือกตั้ง ทั้งที่รัฐบาลและ ศอฉ. มีอำนาจจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กล่าวหาและจับกุมฝ่ายตรงข้ามได้ตลอดเวลา ซึ่งไม่ต่างกับการเมืองเผด็จการในพม่า สะท้อนถึงใจที่คับแคบของนายอภิสิทธิ์และ ศอฉ. ที่ตรงข้ามกับแผนปรองดองอย่างชัดเจน

ขณะที่องค์กรภาคประชาชน สื่อ และองค์กรสื่อ ต่างก็ปิดตา ปิดปากตัวเอง ไม่ค้นหาข้อเท็จจริงหรือเสนอข้อมูลข่าวสารการเสียชีวิตของคนเสื้อแดง โดยเฉพาะการเสียชีวิตของเด็กอายุแค่ 12 ปี ที่ถูกสไนเปอร์ยิงที่ศีรษะ หรือหญิงสาวที่มาชุมนุมที่ถูกทหารข่มขืน ซึ่งมีหลักฐานการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลกลางอย่างชัดเจนว่าถูกข่มขืน รวมถึงการบันทึกประจำวันแจ้งความไว้ที่ สน. ปทุมวัน หรือการสังหารโหด 6 ศพที่วัดปทุมฯที่กำลังจะถูกลืมหายไป ขณะที่หลักฐานต่างๆที่จะพิสูจน์การสังหารโหดก็สูญหายหรือถูกทำลายไปมากมาย เช่น กระสุนในตัวน้องเกด อาสาหน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือคนเจ็บในวัดปทุมฯ

ล่าสุดฮิวแมนไรท์วอตทช์ออกมาประณามการล่ามโซ่ 2 นปช. ที่บาดเจ็บที่ข้อเท้าไว้กับเตียงคนไข้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้บาดเจ็บชัดเจน ขัดกับมาตรฐานสากล ทั้งที่ควรควบคุมในห้องพิเศษแทนการล่ามโซ่ตีตรวน ซึ่งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ก็ประณามว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งยังมีญาติ นปช. อีกหลายคนที่ร้องเรียนว่าถูกล่ามโซ่ในโรงพยาบาล และมีอีกหลายคนถูกยิงบาดเจ็บจนเป็นอัมพาตจากกระสุนที่ยืนยันว่ายิงมาจากฝั่งทหารเข้าใส่ประชาชนมือเปล่า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายนิค นอสติทซ์ ผู้สื่อข่าวอิสระชาวเยอรมัน ซึ่งทำข่าวบริเวณถนนราชปรารภ ได้เขียนบทความลงในเว็บไซต์ new mandala ยืนยันว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม เวลาประมาณ 16.00 น. ทหารใช้ปืนยิงใส่คนเสื้อแดง 300-400 คนที่กำลังขนยางรถยนต์เพื่อไปตั้งเป็นบังเกอร์กลางถนน โดยไม่ใช้กระสุนยางหรือแก๊สน้ำตาก่อน โดยเห็นกับตาตัวเองว่ามีคนเสื้อแดงอย่างน้อย 3 คนถูกยิงล้มลงบนถนน และคนเหล่านั้นไม่มีอาวุธนอกจากหนังสติ๊ก ซึ่งต่อมาทหารเริ่มตั้งแถวเดินเรียงหน้ากระดานเข้ามา ทำให้ทั้ง คนเสื้อแดงและนักข่าวต้องหลบอยู่หลังห้องน้ำด้านหลังปั๊มน้ำมัน และปีนข้ามกำแพงหนีไปยังบ้านที่อยู่หลังปั๊ม ทั้งยังได้ยินเสียงทหารตะโกนและได้ยินเสียงปืนรัวดังเป็นชุด ปลอกกระสุนกระเด็นข้ามรั้วเข้ามา และได้ยินเสียงคนร้องขอชีวิต

ตอแหลได้ต้องตอแหล!

โดยเฉพาะในเวทีโลก นายอภิสิทธิ์และกระทรวงการต่างประเทศพยายามสร้างภาพและอ้างความชอบธรรมจากกรณี ตัวแทนของไทยได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council : UNHRC) ซึ่งรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ก็ฉวยโอกาสอ้างว่า ประชาคมโลกเข้าใจการกระทำของรัฐบาลไทยในเหตุการณ์เดือนเมษายนและพฤษภาคม ไม่เช่นนั้นคงไม่เลือกไทยเป็นประธาน

ทั้งที่รัฐบาลไทยพยายามวิ่งเต้นกับนานาชาติโดยเฉพาะสหรัฐและจีน เพื่อให้การสนับสนุน โดยข้อเท็จจริงก็เป็นเรื่องของโควตาที่ให้ประเทศต่างๆผลัดกันเข้าเป็นสมาชิก เพราะกรรมการสมัยแรกไม่มีประเทศไทย แต่ประเทศที่ได้รับเลือกมีทั้งจีน ปากีสถาน ซูดาน และซาอุดีอาระเบีย ที่มีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะจีนมีเหตุการณ์เทียนอันเหมินที่รถถังไล่ขยี้นักศึกษาเสียชีวิตนับพัน หรือซูดานที่มีการฆ่าล้างและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ซึ่ง “นิวยอร์กไทม์ส” ได้วิจารณ์สหประชาชาติอย่างรุนแรงว่าน่าละอายที่ใช้การแบ่งปันและผลัดกัน เข้าเป็นกรรมการมากกว่าการพิจารณาจากข้อมูลการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง

ประชาธิปไตยแบบ “มาร์ค”

การไม่เคารพหรือละเมิด “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ซึ่งตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษ “Human Dignity” และนำมาซึ่งการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights) นั้นระบุไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ รัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าเป็นสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

แต่ประชาธิปไตยภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์และอำนาจครอบจักรวาลของ ศอฉ. ขณะนี้กลับไม่ต่างกับรัฐบาลเผด็จการ เพราะแม้แต่การเลือกตั้งซ่อมเขต 6 กรุงเทพมหานคร แทนนายทิวา เงินยวง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถึงแก่กรรม นายอภิสิทธิ์และ ศอฉ. ก็ยืนยันที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป ทั้งที่มีข้อห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ซึ่งแม้รัฐบาลจะมีการผ่อนปรน แต่ก็สะท้อนชัดเจนว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ขณะที่คนตาบอด คนพิการที่ชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพ กลับถูกจับกุมเพราะฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่มีปัญหาหรืออุปสรรคกับการเลือกตั้งหรือไม่ แต่เป็นการใช้อำนาจที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย เพราะจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง ขณะที่รัฐบาลก็ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อความมั่นคงของรัฐบาล มากกว่าความมั่นคงของบ้านเมือง

ที่เห็นชัดเจนก็คือการระงับธุรกรรมการเงินของผู้สนับสนุนคนเสื้อแดง โดยรู้ดีว่าหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็จะไม่สามารถทำการขู่เข็ญเยี่ยงที่ทำอยู่ได้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงเป็นอำนาจครอบจักรวาลที่จำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรง

ส่ง “ก่อแก้ว” ชกข้ามคุก!

ที่น่าสนใจคือการที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. ที่ขณะนี้ถูกคุมขังที่เรือนจำกลางคลองเปรม แทนนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ที่อาจมีปัญหาคุณสมบัติ ลงแข่งขันเลือกตั้งซ่อมในนามพรรคเพื่อไทย ซึ่งเท่ากับพรรคเพื่อไทยไม่ใช่แค่ต้องการชัยชนะในการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังต้องการให้เป็นเวทีของคนเสื้อแดงที่จะประกาศกับคนไทยและประชาคม ถึงความอำมหิตที่นายอภิสิทธิ์และ ศอฉ. ปราบปรามคนเสื้อแดง ซึ่งในสายตาของประชาคมโลกถือว่านายก่อแก้วและแกนนำ นปช. ที่ถูกจับกุมเป็นนักโทษการเมือง ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย

เพราะหากพรรคเพื่อไทยเลือกบอยคอตหรือส่งชื่อคนอื่นที่อยู่นอกการถูกคุมขัง แล้วไม่ส่งนายก่อแก้วหรือนายณัฐวุฒิก็อาจถูกประณามจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและ มวลชนเสื้อแดงว่าเล่นการเมืองไม่เป็น ตีโง่ซ้ำซาก สู้เกมการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ สถานการณ์ในขณะนี้จึงไม่ใช่เรื่องการมองผลแพ้ชนะ แต่ต้องการให้ประชาชนและประชาคมโลกเห็นความไม่ชอบธรรมของนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์อย่างชัดเจน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองไปถึงการเลือกตั้งใหญ่ ที่ขณะนี้ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลต่างพยายามใช้ความได้เปรียบ เพื่อหาเสียงและสร้างความชอบธรรมเพื่อฟอกตัวเองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม ทั้งขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ลดภาษี ลดดอกเบี้ยเงินกู้ แจกเงิน แจกของ และสร้างสาธารณูปโภคให้แบบปูพรมในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการพาคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและ อบจ. 75 จังหวัดไปทัวร์หรูต่างประเทศถึง 6 ชุด ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการจ่ายมัดจำซื้อเสียงล่วงหน้า

สงครามประชาธิปไตย

การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยในขณะนี้ จึงไม่ต่างอะไรกับการปฏิรูปประเทศโดยประชาชน ไม่ใช่โดยรัฐบาลที่ส่งร่างทรงเข้ามา เพราะไม่ว่านายอานันท์ ปันยารชุน หรือ นพ.ประเวศ วะสี ก็วิตกเช่นกันที่จะกลายเป็นเครื่องฟอกอากาศให้นายอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะข้อหา “ฆาตกร 100 ศพ” จึงพยายามย้ำว่าการรับอาสาร่วมปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องของภาคสังคม ภาคประชาชน และภาควิชาการ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม ไม่เกี่ยวกับเรื่องความปรองดอง ส่วนจะรับข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ไปปฏิบัติหรือไม่ก็อยู่ที่รัฐบาล

ประชาชนจึงต้องไม่โง่ซ้ำซากให้รัฐบาลมือเปื้อนเลือดกลบเกลื่อนหรือมอมเมา ด้วยนโยบายต่างๆ เพราะตราบใดก็ตามที่ยังมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เท่ากับนายอภิสิทธิ์ไม่มีความจริงใจที่จะสร้างความปรองดองอย่างที่ประกาศ เพราะรัฐบาลยังใช้อำนาจเผด็จการกดหัวและกดขี่ประชาชนต่อไป เหมือนการกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้ายและการควบคุมธุรกรรมทางการเงินฝั่งตรงข้าม

แผนปรองดองของนายอภิสิทธิ์จึงทำได้แค่การตีปี๊บผ่านสื่อรัฐและสื่อกระแสหลัก ที่จำยอมเป็นวัวควายให้รัฐบาล เช่นเดียวกับองค์กรอิสระที่ยอมทำทุกอย่างเพื่อแลกกับอำนาจและผลประโยชน์ของ ตนเองและพวกพ้อง โดยท่องคาถา “รักชาติ รักสถาบัน” ซึ่งเป็นวาทกรรมตอแหลเดิมๆ

ส.ส. จากคุกคนแรก

กรณีที่พรรคเพื่อไทยมีมติส่งนายก่อแก้วลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 จึงใกล้เคียงกับกรณีโรเบิร์ต เจอราร์ด แซนด์ส “บ็อบบี้ แซนด์ส” ส.ส.นักโทษของกลุ่มไออาร์เอ ที่ถูกจับกุมข้อหาร่วมกับเพื่อนอีก 5 คนบุกสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ และถูกตัดสินจำคุก 14 ปี แต่เขาได้สร้างชื่อไปทั่วโลกเมื่อประกาศอดอาหารประท้วงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1981 เรียกร้องให้ทางการอังกฤษให้สถานะ “นักโทษการเมือง” กับผู้ต้องขังที่เป็นไออาร์เอ

ในขณะที่ไม่กี่วันหลังจากนั้น แฟรงค์ แม็กไกวร์ ส.ส.เขตเฟอร์มานาฟและเซาธ์ ไทโรน ซึ่งนิยมการแยกตัวของไอร์แลนด์เหนือ ได้เสียชีวิตกะทันหัน ทำให้ “บ็อบบี้ แซนด์ส” ถูกส่งลงแข่งขันในฐานะตัวแทนพรรคซินเฟน (ฟากการเมืองของไออาร์เอ) ปรากฏว่า “บ็อบบี้ แซนด์ส” ชนะและได้รับการเลือกตั้งอย่างเฉียดฉิวเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1981 และได้เป็น ส.ส. อายุน้อยที่สุด (อายุเพียง 27 ปี) แต่เขาดำรงตำแหน่งได้ไม่ถึง 1 เดือนก็เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม หลังอดอาหารประท้วงในเรือนจำได้เพียง 2 เดือน

ความสำเร็จของ “บ็อบบี้ แซนด์ส” ในครั้งนั้นทำให้รัฐ บาลอังกฤษต้องเสนอ พ.ร.บ.ว่าด้วยตัวแทนแห่งปวงชน 1981 บัญญัติห้ามไม่ให้ผู้ต้องโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปีทั้งในและนอกราชอาณาจักรลงสมัคร ส.ส. อีกต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

การลงมติของพรรคเพื่อไทยให้ส่ง “นายก่อแก้ว พิกุลทอง” หนึ่งในแกนนำ นปช. ลงเลือกตั้งซ่อมในเขต 6 กทม. เพื่อชิงเก้าอี้ ส.ส. ที่ว่างลงจากการเสียชีวิตของนายทิวา เงินยวง จึงเป็นอีกเกมการเมืองที่น่าจับตามอง

แม้ว่าในครั้งแรกมีการคาดการณ์ว่าจะส่งนายณัฐวุฒิ หนึ่งในสามเกลอลงสมัคร แต่การเปลี่ยนตัวเป็นนายก่อแก้วก็มิได้ทำให้เกมเปลี่ยนไปแต่อย่างใด ในทางตรงข้ามอาจเป็นข้อดี เพราะสงครามครั้งนี้ไม่ใช่ต้องการผลแพ้ชนะเป็นหลักชัย แต่เป็น “สงครามข่าวสาร” ที่ทั้งโลกต้องจับตามอง อีกทั้งโอกาสที่นายก่อแก้วจะได้ประกันตัวชั่วคราวมีมากกว่านายณัฐวุฒิ โดยคาดหวังว่าจะไม่สะดุดหยุดอยู่แค่ธรณีประตูศาล

“ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” กับฉายา “ชกข้ามรุ่น” จึงต้องช่วยลุ้น “ก่อแก้ว พิกุลทอง” ให้สร้างตำนาน “ชกข้ามคุก” ชนะเลือกตั้งซ่อม ได้เป็น ส.ส. คนแรกของประเทศไทย

ที่เหลือปล่อยเป็นหน้าที่ของคนเสื้อแดงเขต 6 กทม.

สงครามครั้งนี้จึงห้ามกะพริบตา!!


Comics in Thai Newspaper.

The image reflexes on how Thai government paves the red carpet over the dead bodies of fellow Thai citizen for the power-hungry politicians to walk to the glory (and wealth?). During the several military crackdown  in April and May 2010, 89 people have been killed. The Thai government refuses responsibility and blame “mysterious armed group” over the incidents. Meanwhile, the protesters claim that the government and the Prime Minister are killers. Moreover, the reason of this rotation is to buy times for government to retain the power.

This image is originally illustrated by Zia in Thairath Newspaper dated 8 June 2010.
Wordings are converted into English by Siam Parade in order to share with international audiences. Siam Parade acknowledges the copyrights of Thairath Newspaper.


Thailand Has Violated Human Rights

Thailand Has Violated Human Rights
Taken from: Robert Amsterdam

In a blog post at New Mandala, the human rights activist Kwanravee Wangudom has published a response to an op/ed in the Bangkok Post which asserted that the government of Thailand had not violated human rights in the violence against protesters in April and May.

Finally, the author criticizes the government rightly about its poor intelligence which made it unable to identify the “armed groups” among the demonstrators, but he nonetheless says the government is somehow justified by international human rights standards in ordering the troops to use firearms against demonstrators. This is such an oxymoron – using human rights norms to justify killing innocent people – the point is that the poor intelligence which made the government unable to identify alleged “armed groups” in the midst of the protestors, should not have been used to justify using firearms against a crowd of mainly unarmed protestors.  In other words, how would it be possible for the government to use firearms against the right targets, namely the “armed groups”? As a result, none of the slain and injured demonstrators and passersby, more than 2,000 of them, was found to have in possession any weapon. Can this justify the use of gunshots for “self-defense”? Worse, many of the victims are found to have been shot by “indiscriminate shootings” including foreign and local journalists and medic personnel who literally gave and risked their lives to save others. All of this is in serious violation of the most basic principles of humanitarian law, let alone the human rights obligations of the Thai government.

ไทยละเมิดสิทธิ์มนุษยชน
จาก Thailand Has Violated Human Rights

Kwanravee Wangudom เขียนไว้ในบล็อก นิวมันดาลา (นวมณฑล) ตอบคำถามของบทความจากบางกอกโพสท์ (“รัฐบาลนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนกระนั้นหรือ,.. คิดใหม่ดีกว่า“) โดยใช้ชื่อบทความว่า “ละเมิดสิทธิมนุษยชน ใช่ยิ่งกว่าใช่” โดยทาง โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้สรุปว่า

“..ในตอนท้ายของบทความ ผู้เขียนได้วิจารณ์ความห่วยของหน่วยข่าวกรอง ที่ไม่สามารถแยกแยะ “กองกำลังติดอาวุธ” ออกจากผู้ชุมนุมมือเปล่าได้ และยังได้กล่าวอ้างเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามหลักสากล ทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชน และเรื่องการใช้กำลังสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นการพูดที่ฟังดูขัดแย้งในใจความ โดยนำประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนมาใช้ในเรื่องการสังหารผู้บริสุทธิ์ สาระสำคัญก็คือว่า หน่วยข่าวกรองล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ในเรื่องการแยกกลุ่มกองกำลังติดอาวุธออกจากผู้ชุมนุม ซึ่งส่วนใหญ่ปราศจากอาวุธ และยังตัดสินใจใช้อาวุธยิงเข้าไปอีก ที่น่าสะเทือนใจไปกว่านั้น คือผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเหล่านั้นไม่มีอาวุธ จะอ้างได้หรือ ว่าที่ทหารยิงใส่ผู้ชุมนุมนั้น เป็นเพียงการป้องกันตัว และที่แย่ไปกว่านั้นคือว่า มีการยิงโดยไม่แยกแยะเสียด้วยซ้ำ เช่น ผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศ แม้กระทั้งหน่วยพยาบาลที่เสี่ยงชีวิตตน เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ก็ยังถูกยิงจนเสียชีวิต นี่เป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อกฎหมายเกี่ยวกับมนุษยธรรม นอกเหนือไปจากพันธะผูกพันในด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยต้องยึดถือ..”


อภิสิทธิ์ ตอนอยู่ออกซ์ฝอด

ภาพจากหนังสือพิมพ์เกาหลี เห็นครั้งแรกอยู่ที่ Thai E-News นี่สะท้อนได้ว่า ต่างประเทศ เขาหูตาสว่างกว่าคนในประเทศเสียอีก..
ภาพ บรรยายว่า “อภิสิทธิ์ในวัยหนุ่ม ระหว่างชั้นเรียนวิชาสิทธิมนุษยชน”

มิน่าหละ..