1 ปีที่คอกวัว

ล่วงเลยมา 1 ปีเต็มแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าคดีสลายม็อบเสื้อแดงที่คอกวัวเมื่อ 10 เม.ย.53

ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 26 ศพ

ถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปทางคดีที่เป็นรูปธรรมเลย

วันก่อน ญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายเสื้อแดง 10 เม.ย.53 จำนวน 16 คน

ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลแพ่งในคดีละเมิดและเรียกค่าเสียหายจากกระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม และกองทัพบก

เป็นเงินรวมเกือบ 40 ล้านบาท!

ระบุว่าเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนั้นมีมูลเหตุเกิดจากการกระทำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

ทำให้เกิดความเสียหายจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้ชุมนุมเสื้อแดง

บางคนเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้ทายาทนอกจากสูญเสียผู้นำแล้วยังต้องเดือดร้อนในการดำรงชีวิตต่อไป

และเมื่อตรวจดูรายชื่อโจทก์ร่วมทั้ง 16 คน ก็ต้องสลดหดหู่ยิ่งขึ้น

เพราะมีเด็กเล็กๆ ถึง 5 คน เป็น 3 เด็กชาย และ 2 เด็กหญิง ที่ต้องสูญเสียผู้ปกครอง-ผู้นำครอบครัวจากเหตุการณ์ 10 เมษาเลือด

เด็กตัวน้อยๆ เหล่านี้ต้องออกมาต่อสู้ทวงความยุติธรรม และเรียกร้องค่าเสียหายโดยชอบธรรม

และในเหตุการณ์เดียวกันนี้ยังมีอีกศพที่กล่าวขวัญกันมากในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา

นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่นถูกยิงตายขณะถ่ายภาพทำข่าวเหตุการณ์สลายม็อบแดง

เป็นอีกศพที่สูญเสียในสถานการณ์รุนแรงเนื่องจากฝ่ายรัฐใช้มาตรการทหารเข้าปราบม็อบ

ที่ถูกกล่าวขวัญก็เพราะทางการญี่ปุ่นทวงถามความคืบหน้าคดีนี้ไม่รู้กี่ครั้งกี่หนแล้วในรอบ 1 ปี

แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาลไทย

ดีเอสไอก็กลับไปกลับมา

ตอนแรกระบุเจ้าหน้าที่รัฐฆ่า ก่อนพลิกว่าไม่ใช่ฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว

เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนยอมรับ??

ในวาระครบรอบการตาย ก็มีข่าวว่าญาติของนายฮิโรยูกิจะบินมาทวงถามความคืบหน้าถึงเมืองไทยอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้เป็นการทวงความยุติธรรม

เพียงส่วนหนึ่งจาก 91 ศพที่ยังรอความยุติธรรมอยู่

ที่มา : ข่าวสดรายวัน 11 เมษายน 2554
คอลัมน์ : เหล็กใน


ทำไม “ม็อบแดง” เติบโต ทำไม “ม็อบเหลือง” ถดถอย จับตา 19 ก.พ. “สึนามิแดง” มาแล้ว

ต้องยอมรับว่าปริมาณผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงในวัน อาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์นั้นมากจริงๆ

ถ้าถามแกนนำนปช. อาจบอกว่าเป็นแสน

แต่รายงานของตำรวจนั้นเป็นหลักหมื่น

การถกเถียงเรื่อง “ตัวเลข” นั้น ต่างฝ่ายต่างก็ตีความเข้าข้างตัวเอง

แต่ภาพที่ปรากฏก็คือ จากเวทีตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หันหน้าไปทางสี่แยกคอกวัว

“คนเสื้อแดง” เต็มถนนราชดำเนินตั้งแต่หน้าเวทีไปถึงสี่แยกคอกวัว  ส่วนด้านหลังเวทีนั้นยาวเหยียดจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปถึงสะพานผ่านฟ้า

มีบางส่วนล้นไปถึงจปร.

ปริมาณผู้ชุมนุมมากกว่าครั้งก่อนที่ผ่านมา

ในขณะที่ “ม็อบเสื้อเหลือง” ที่ยืนหยัดมานานหลายวันที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ กลับมีจำนวนเพียงแค่หลักพันในช่วงค่ำ และหลักร้อยในช่วงกลางวัน

ยิ่ง “ม็อบ 2 สี” มาประชันกันในวันเดียวกัน  ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนถึงความแตกต่างของ “มวลชน” ที่สนับสนุน

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ทำไม “ม็อบเสื้อเหลือง”จึงลดลงอย่างฮวบฮาบ

และทำไม “ม็อบเสื้อแดง” จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เพิ่งถูกปราบครั้งใหญ่ไปเมื่อ 8 เดือนก่อน

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แม้จะมี “เอเอสทีวี” และสื่อในเครือจำนวนมากเป็น “นางกวัก” เรียกคน

แต่ดูเหมือนว่าพลานุภาพของ “สื่อ” ในเครือจะลดความศักดิ์สิทธิ์

ในขณะที่ผู้ชุมนุมตะโกนเรียกคนหน้าจอให้ “ออกมา…ออกมา…”

แต่ “คนหน้าจอ” กลับนิ่งเฉย

ด้านหนึ่ง อาจเป็นเพราะ “พันธมิตร” ในอดีตไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ในครั้งนี้

หรืออีกด้านหนึ่ง อาจเป็นเพราะปริมาณคนดูเอเอสทีวี ลดน้อยลง

มีการวิเคราะห์กันว่าเหตุผลที่ทำให้ “ม็อบเสื้อเหลือง” ลดลงมาจาก 3 สาเหตุ

สาเหตุแรก คือ ประเด็นการเคลื่อนไหวแบบ “รักชาติ” อย่างรุนแรง ไม่มีเสน่ห์ดึงดูดสำหรับคนไทยในพ.ศ.นี้ ปริมาณคนเข้าร่วมจึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อทหารไทย ปะทะกับทหารกัมพูชา ทั้งที่การปะทะกันครั้งนี้น่าจะสร้างกระแส “คลั่งชาติ” เรียกคนมาร่วมชุมนุมได้อย่างถล่มทลาย แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ “พันธมิตร” ในเรื่องนี้

สาเหตุที่สอง มาจาก “คู่ต่อสู้” คือ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์

“ม็อบเสื้อเหลือง” ในอดีตที่เข้มแข็งและมีปริมาณมาก  มาจากการหนุนช่วยของพรรคประชาธิปัตย์ หรือคนที่นิยมพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อ “สนธิ ลิ้มทองกุล-พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” เลือกที่จะปะทะกับ “อภิสิทธิ์” เขาจึงรู้ว่า “ม็อบพันธมิตร” ที่คิดว่าขึ้นตรงกับเขานั้น แท้จริงแล้วมี “ใคร” ชักใยอยู่เบื้องหลัง

แต่กว่าทั้งคู่จะรู้  พล.ต.จำลองและนายสนธิก็ถลำมาไกลเกินกว่าจะถอยหลัง

สาเหตุที่สาม  การเคลื่อนไหวของ “ม็อบพันธมิตร” ครั้งนี้ “เบาบาง” มากในเชิง “มวลชน” แต่ “รุนแรง” มากใน “เนื้อหา” การปราศรัยบนเวที

สนธิทำลาย “มิตร” ในอดีตแบบไม่ไว้หน้า  ไม่ว่าจะเป็น “เปลว สีเงิน” ของไทยโพสต์ “เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง” หรือแม้แต่ “อัญชลี  ไพรีรักษ์” ที่เข้าไปช่วยงาน “จุติ ไกรฤกษ์” ในกระทรวงไอซีที

โจมตีกลุ่มพันธมิตรฯที่ไม่ยอมออกมาชุมนุมว่าหลงความหล่อของ “อภิสิทธิ์”

โจมตี พล.ต.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก อย่างรุนแรง ฯลฯ

เขาใช้กลยุทธ์เก่าที่เคยได้ผลมาก่อนในอดีต คือ ทำให้ทุกคน “กลัว” ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์  โดยลืมไปว่าพลานุภาพของ “มวลชน” และสื่อในเครือนั้นไม่เหมือนเดิม

ยิ่งนานวัน กลุ่มพันธมิตรฯก็ยิ่งทำลายตัวเองลงเรื่อยๆ

ยิ่งนานวัน กลุ่มพันธมิตรฯก็รู้แล้วว่าใครคือ “เส้นใหญ่” ตัวจริง

ในอีกด้านหนึ่ง  กลุ่ม “คนเสื้อแดง” กลับเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

การระดมคนเป็นหมื่นกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา

แกนนำนปช.ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ลด “ความรุนแรง” ลง และใช้วิธี “รักษาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” สร้างแนวร่วมมากขึ้น

ที่สำคัญเรื่อง “สองมาตรฐาน” ที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อนำสิ่งที่แกนนำ นปช.ที่ถูกจำคุกโดยไม่ได้ประกันตัวมาเทียบกับแกนนำ “ม็อบพันธมิตร” ที่เจอข้อหาก่อการร้ายเหมือนกัน  แต่ได้ประกันตัวและออกมานำการเคลื่อนไหวได้

เป้าหมายของ นปช.นั้นต้องการเพิ่มจำนวนคนเข้าร่วมชุมนุมมากขึ้น “เท่าตัว” ทุกครั้ง

และ 2 ครั้งที่ผ่านมา เขาทำสำเร็จ

การชุมนุมครั้งต่อไปในวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ แกนนำ นปช.ต้องการเพิ่มจำนวนผู้ชุมนุมอีกเท่าตัว

แม้จะดูเหมือนว่าเป็นการคุยคำโต  แต่วันนี้ไม่มีใครกล้าสบประมาทว่า “เป็นไปไม่ได้”

การเติบโตของ “ม็อบเสื้อแดง” และการถดถอยของ “ม็อบเสื้อเหลือง” นั้นมีบางสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสวนทางกัน “ม็อบเสื้อเหลือง” ในอดีตเคยมีฐานมวลชนหลักคือ “คนกรุงเทพ” “ต่างจังหวัด” เป็นส่วนเสริม

ในขณะที่ “ม็อบเสื้อแดง” นั้นต้องพึ่งพาจากคนต่างจังหวัด

การชุมนุมใหญ่ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 “คนเสื้อแดง” จึงต้องระดมคนอีสานและภาคเหนือเข้ามาในกทม. เพราะรู้ว่าฐานสนับสนุนในเมืองกรุงนั้นไม่มากนัก

แต่วันนี้กลับเปลี่ยนไป

“คนกรุง” หนุน “ม็อบเสื้อเหลือง” น้อยลง  สังเกตได้จากปริมาณคนในช่วงเย็นวันธรรมดา ซึ่งตามปกติเคยเนืองแน่น  แต่วันนี้กลับมาจำนวนคนเพิ่มน้อยมาก

ในขณะที่ “ม็อบเสื้อแดง” ที่ชุมนุมในช่วงหลังแบบบ่ายไปดึกกลับ ล้วนแต่เป็นคนกรุงและจังหวัดใกล้เคียง

เขาไม่ได้ระดมคนอีสานและภาคเหนือลงมาเลย

แต่วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ “จตุพร” ประกาศบนเวทีว่าจะระดม “คนเสื้อแดง” จากภาคเหนือและอีสานมาร่วมด้วย

ไม่มีใครรู้ว่าการเคลื่อนไหวของ “คนเสื้อแดง”ต่อจากนี้ไปจะเดินไปอย่างไร

แม้แต่ “แกนนำ นปช.” เอง

เหตุการณ์ในตูนีเซีย และอียิปต์ ทำให้ “คนเสื้อแดง” ฮึกเหิมขึ้น

เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่บอกว่าอะไรที่ทุกคนคิดว่า “เป็นไปไม่ได้”

แท้จริงแล้ว “เป็นไปได้”

“อภิสิทธิ์” ที่เคยชนะในเดือนพฤษภาคม 2553 ก็อาจพ่ายแพ้ได้เช่นกัน

นี่คือ สึนามิการเมืองลูกเดิมระลอกใหม่ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง

 


ไพ่สุดท้าย‘อภิสิทธิ์’‘ยุบ’ก่อน‘ยึด’

“ให้นายอภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิด โอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถ กล้าหาญ เข้ามาบริหารราชการแทน พิจารณาตัวเองด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจในการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติ มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในชาติให้หมดสิ้น มีวุฒิภาวะ และมีความเป็นผู้นำที่ซื่อสัตย์ต่อชาติ ต่อประชาชน ไม่โกหกหลอกลวงประชาชน มีคุณธรรม ศีลธรรม เข้ามาบริหารชาติบ้านเมืองต่อไป”

แถลงการณ์ยกระดับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวัน ที่ 5 กุมภาพันธ์ เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหากัมพูชาที่รุกล้ำและยึด ครองดินแดนไทย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดและเกิดการปะทะกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แทนที่จะปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติ กลับกระทำการในลักษณะสมยอมจำนน หรือมีพฤติกรรมยอมรับการเข้ายึดครองและรุกล้ำดินแดนไทยของกัมพูชา

นอกจากนี้ยังระบุว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ตลอดจนคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ล้วนมีพฤติกรรมสมคบกันทำให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องตกอยู่ภาย ใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ทำลายเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศชาติและประชาชนไทย ก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชาติและแผ่นดินไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้ราชอาณาจักรไทยต้องเสียดินแดนให้แก่กัมพูชาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน

เปลี่ยนแผนเพราะม็อบเหี่ยว!

อย่างไรก็ตาม การยกระดับการเคลื่อนไหวไปยังสถานที่สำคัญต่างๆในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ เพื่อกดดันนายอภิสิทธิ์นั้น พันธมิตรฯได้ประกาศเปลี่ยนแผนเป็นการเคลื่อนคาราวานนำสิ่งของไปมอบให้กับ ทหารในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีษะเกษ หลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 9-23 กุมภาพันธ์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ 7 เขตคือ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตวัฒนา เขตราชเทวี เขตวังทองหลาง เขตปทุมวัน และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย พร้อมตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) โดยมี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นผู้อำนวยการ

“จะคลี่คลายสถานการณ์ให้เรียบร้อยให้ได้” พล.ต.อ.วิเชียรประกาศงานแรกของ ศอ.รส. โดยออกมาตรการห้ามเข้าถนนสายสำคัญรอบทำเนียบรัฐบาล และจะเจรจาให้กลุ่มพันธมิตรฯเปิดเส้นทางสัญจรตามปรกติ หากไม่ยอมจะดำเนินการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของออกจากพื้นที่ตามข้อบังคับใช้ กฎหมาย โดยจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก 20 กองร้อย เป็น 50 กองร้อย แต่หากพื้นที่ใดมีสถานการณ์ความวุ่นวายก็จะประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเพิ่มเติม เช่น บริเวณศาลอาญา ซึ่งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะชุมนุมกันในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ซึ่งนายสุเทพไฟเขียวให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เต็มที่

อย่างไรก็ตาม รายงานของฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลยังเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯจะมีการเคลื่อน ไหวเพื่อยกระดับกดดันรัฐบาล แต่เพราะจำนวนผู้ชุมนุมยังไม่มากพอจึงต้องปรับแผน ซึ่งอาจสร้างเงื่อนไขให้เกิดสถานการณ์ที่จะทำให้มวลชนออกมาร่วมมากขึ้น จึงต้องมีการเตรียมพร้อม 100% ทั้งกำลังตำรวจและทหาร เพราะในทางการข่าวของเจ้าหน้าที่สืบทราบว่าทางกลุ่มพันธมิตรฯจะไม่ประกาศ ชัดเจนบนเวทีว่าจะไปไหนในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ แต่ได้ใช้การพูด “ปากต่อปาก” ซึ่งคาดว่าอาจมีการปิดล้อมอาคารรัฐสภาก็เป็นได้

แต่ฝ่ายพันธมิตรฯกลับมองว่าการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเท่ากับสะท้อนถึง “ความไม่มั่นคง” ของรัฐบาล จึงจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจ “เคลียร์พื้นที่” และอ้างสถานการณ์ความมั่นคงจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาดทันทีที่ผู้ ชุมนุมมีปฏิกิริยาตอบโต้ แม้จะเสี่ยงต่อสถานการณ์ที่อาจลุกลามจนนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหาร หรือมีการใช้ “อำนาจพิเศษ” เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลอย่างแถลงการณ์ของพันธมิตรฯก็ตาม

ปูดสุมหัวรัฐประหาร!

แม้ผู้นำกองทัพจะออกมาปฏิเสธกระแสข่าวการปฏิวัติรัฐประหาร แต่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ที่อ้างว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งวางแผนรัฐประหาร โดยหารือที่จังหวัดเพชรบูรณ์และโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และมีการหารือกันที่บ้านไฮโซเจ้าของเหมืองแร่จังหวัดภูเก็ตที่มีความใกล้ชิด กับกลุ่มอำมาตย์ ทั้งยังอ้างถึงนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตผู้ช่วย ผบ.ทบ. และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ โดยมีคำขวัญในการหารือว่า “ใช้มวลชนปฏิวัติ เปลี่ยนแปลง การปกครอง”

“เหลืออย่างเดียวที่บรรดาคณะผู้วางแผนยึดอำนาจยังตกลงกันไม่ได้คือจะให้ ใครเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะกลุ่มหนึ่งสนับสนุน พล.อ.ป.ปลา ที่โหรวารินทร์เคยทำนายไว้ว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี และกลุ่มที่สองสนับสนุนนายสุรเกียรติ์ ที่ผมออกมาพูดเรื่องนี้เพราะไม่ต้องการให้บ้านเมืองถลำลึกไปมากกว่านี้”

นายจตุพรกล่าวอีกว่า การพูดคุยเหมือนบรรยากาศที่บ้านนายปีย์ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทั้งยังเปิดเผยภายหลังว่าก่อนการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา 2 วัน มีนายทหารยศ “พันเอก” ที่เจื้อยแจ้วอยู่ในขณะนี้ไปพูดกับเพื่อนๆว่าอีก 2 วันจะยิงเขมรและเกิดเหตุปะทะขึ้นจริง จึงตั้งคำถามว่าใครเป็นคนสั่งการให้นำรถแทรกเตอร์เข้าไปบริเวณวัดแก้วสิกขา คีรีสวาระจนเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการปะทะ เหมือนสอดรับกับการปลุกกระแสคลั่งชาติในขณะนี้ที่ต้องการจะนำไปสู่การรัฐ ประหาร

“อภิสิทธิ์” ใช้โวหารสู้!

แม้นายสุรเกียรติ์และนายสนธิจะออกมาปฏิเสธ แต่นายสนธิยังปล่อยข่าวว่าเดินทางไปคูเวตเพื่อร่วมมือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โค่นล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ซึ่งนายสนธิระบุว่า นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนปล่อยข่าว ซึ่งนายเทพไทก็ออกมาปฏิเสธทันทีเช่นกันและให้นายสนธิแก้ข่าว ไม่เช่นนั้นอาจฟ้องนายสนธิเป็นคนแรก ทั้งที่ตั้งใจจะไม่ฟ้องใครเลย

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ก็ตั้งคำถามถึงคำพูดของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ที่ว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯทุกครั้งจะไม่จบด้วยดีว่า มองไม่เห็นว่าการปฏิวัติจะช่วยประเทศได้อย่างไร เพราะปฏิวัติทุกครั้งมีบาดแผลตกค้างทุกครั้ง กระบวนการเสื้อแดงก็เป็นบาดแผลที่ยังไม่จบจากครั้งที่แล้ว ลองไปถามคนที่ต้องทำงานหลังการปฏิวัติดูว่าเหนื่อยแค่ไหน จึงเข้าใจยากว่าทำไมจึงมีข้อเรียกร้องอย่างนี้

“ถึงบอกว่าถ้าไม่ชอบรัฐบาลนี้ก็อีกไม่กี่เดือนจะไปเลือกตั้งกันแล้ว แต่ถ้าไม่เชื่อในกระบวนการการเลือกตั้งอีก แล้วเชื่อประชาธิปไตยแบบไหน ถ้าไม่เชื่อประชาธิปไตยอีก ก็ถามว่าคุณจะอยู่ในโลกนี้ยุคนี้อย่างไร มีคนพูดว่ารัฐประหาร ไม่รัฐประหารอย่างไร”

จึงเห็นได้ชัดเจนว่านอกจากนายอภิสิทธิ์ไม่กลัวการกดดันของกลุ่มพันธมิตรฯ แล้ว ยังใช้ทุกโอกาส ทุกเวทีเพื่อตอบโต้และสร้างภาพการเป็นนักการเมืองที่เชื่อมั่นในระบอบ ประชาธิปไตยและพร้อมจะยุบสภา ซึ่งเหมือนการดิสเครดิตพันธมิตรฯไปโดยปริยายว่ายังมีความคิดอิงแอบอำนาจ เผด็จการ อย่างที่ พล.ต.จำลองตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า ที่ออกมาชุมนุมก็เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 เท่านั้น ส่วนใครจะปฏิวัติหรือใครจะมาเป็นรัฐบาลไม่ได้สนใจ แต่ถ้ามาแล้วทำไม่ถูกต้อง พันธมิตรฯก็ต้องออกมาอีก

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ก็สร้างภาพเรื่องยุบสภาโดยใช้โวหารเดิมๆ อย่างในงานสัมมนา ASEAN-CLSA Forum ซึ่งมีนักการเงินการธนาคารทั้งในและต่างประเทศ โดยยืนยันว่าพร้อมให้มีการเลือกตั้งภายในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เพราะขณะนี้เศรษฐกิจถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว เหลือเพียงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะพิจารณาวาระ 3 ในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ และต้องแน่ใจว่าการเลือกตั้งไม่มีความรุนแรง โดยก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่าพร้อมคืนอำนาจให้ ประชาชนอยู่แล้ว ส่วนฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วบอกว่ารัฐบาลจะทอดเวลา ยุบสภา นั้นก็อยากให้ยื่นมาเร็วๆ รีบอภิปรายให้จบๆไป จะได้ยุบสภาได้ เพราะการจัดทำงบ ประมาณกลางปี 2554 เดือนมีนาคมก็เสร็จแล้ว จึงไม่มีเงื่อนไขเรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2555 มาเกี่ยวข้อง อย่างนั้นมันไม่จบ

แม้นายสุเทพจะออกมาพูดภายหลังว่ารัฐบาลไม่ถึงทางตัน ยังสามารถแก้ไขปัญหาได้ และหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามปฏิทินที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ ส.ส.มหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย เชื่อว่านายอภิสิทธิ์ส่งสัญญาณว่าพร้อมยุบสภานานแล้วหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 เพราะขณะนี้ปัจจัยทุกอย่างครบหมดแล้ว โดยเชื่อว่าจะยุบสภาไม่เกินเดือนเมษายนนี้

“ปฏิวัติ” เพราะดื้อด้าน

ด้านนายประพันธ์ คูณมี หนึ่งในโฆษกการชุมนุมพันธมิตรฯ ตอบโต้นายอภิสิทธิ์ว่า ใส่ร้ายพันธมิตรฯผ่านสื่อให้เข้าใจผิดว่า พล.ต.จำลองและพันธมิตรฯเรียกร้องให้มีการปฏิวัติ ทั้งที่ พล.ต.จำลองเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกหากทำหน้าที่ไม่ได้ จึงพูดว่าจบไม่สวย แต่นายอภิสิทธิ์กลับบิดเบือนใส่ร้าย ไม่เคารพสิทธิและไม่ฟังความเห็นของประชาชน นายอภิสิทธิ์ไม่ยอมแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองและไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งที่เคยประกาศว่านักการเมืองต้องมีจิตสำนึกสูงกว่าสำนึกทางกฎหมาย ดังนั้น หากรัฐบาลถูกปฏิวัติจริงก็เป็นเพราะดื้อด้านไม่สนใจประชาชน

นอกจากนี้มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยการประเมินสถานการณ์ทางการ เมืองของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ โดยยก 4 เหตุการณ์คือ การชุมนุมของพันธมิตรฯ การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง กรณีพิพาทระหว่างทหารไทย-กัมพูชา และการพิจารณารัฐธรรมนูญวาระที่ 3 รวมถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นมีผลกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาล ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3 อย่างคือ ยุบสภา การปฏิวัติ และนายกรัฐมนตรีลาออก ซึ่งนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่าทางเลือกมีทางเดียวคือประกาศยุบสภาเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงกับการเกิดการปฏิวัติ

ส่วน พล.ต.จำลองก็ยืนยันว่ารัฐบาลมี 2 ทางเลือกคือ ลาออก หรือสลายการชุมนุม แต่จะกลับมาใหม่จนกว่าจะได้ชัยชนะ ไม่ว่าจะประกาศใช้กฎหมายใดก็ตามกระแสข่าวการปฏิวัติรัฐประหารเป็นไปได้ทั้ง นั้น และตนก็เชื่อด้วย เพราะการเมืองประเทศไทยยังไม่มั่นคง ขอย้ำว่าพันธมิตรฯไม่ได้เปิดทางให้มีการปฏิวัติ แต่หากเกิดขึ้นจริงก็ไม่สามารถห้ามได้ เพราะพันธมิตรฯไม่มีอำนาจไปห้ามได้

“ขณะนี้ประเทศไทยเหมือนคนไข้ที่กำลังป่วยร้ายแรง เราไม่เลือกแพทย์แผนปัจจุบันหรือหมอฝังเข็มที่จะมารักษาเรา แต่ต้องเป็นหมอที่สามารถรักษาโรคเราได้ ทั้งในเรื่องการสูญเสียดินแดนอธิปไตย และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ว่าจะมาจากกระบวนการใด”

ยกระดับเปิดทาง “ปฏิวัติ”!

สถานการณ์การเมืองขณะนี้ การปฏิวัติรัฐประ-หารเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะทุกฝ่ายรู้ดีว่าการปฏิวัติรัฐประหารของไทยนั้น ที่ผ่านมาในอดีตส่วนใหญ่เกิดจากการยื้อแย่งอำนาจทางการเมืองระหว่างทหารและ พลเรือน หรือเพราะทหารสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ โดยทหารจะอ้างเรื่องความมั่นคง การปก ป้องสถาบันเบื้องสูง และการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง แต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการจัดฐานอำนาจของกลุ่มอำมาตย์กับกลุ่มทุนเก่าหลังจากถูกกลุ่มทุนใหม่ แย่งชิงไป ไม่ได้เป็นไปตามอุดมการณ์การเมือง โดยอ้างเรื่องความมั่นคง และอิงแอบสถาบันเบื้องสูง ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯและพรรคประชาธิปัตย์รู้ดี

ดังนั้น จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่จึงอยู่ที่ว่า “อีแอบ” จะเลือกฝ่ายใดให้ขึ้นมารับใช้ และกดปุ่มไฟเขียวเมื่อไร โดยมีกองทัพเป็น “ยักษ์สีเขียว” ถือกระบอง เพราะกองทัพไทยไม่ได้ให้คำปฏิญาณว่าจะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญ หรือให้ปฏิเสธคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แม้คำสั่งนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดสิทธิเสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ของประชาชน

อย่างวลีอมตะของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ว่า “รัฐบาลเป็นแค่จ๊อกกี้ แต่ไม่ใช่เจ้าของคอกม้า” ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตยอย่างชัดเจน กองทัพไทยจึงไม่ใช่กองทัพของประชาชนและรัฐบาล แต่เป็นทาสรับใช้ “เจ้าของคอกม้า”

ไล่ไปเรื่อยๆจนกว่าจะปฏิวัติ!

“การผลักดันให้ยกระดับการต่อสู้ เดือดร้อนประชาชนคนอีสานใต้นับหมื่นราย ผมนึกถึงที่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดว่า ถ้าท่านตายก็ไม่อยากตายด้วยความโง่จากสงครามที่คนอื่นก่อ นี่คือสงครามของคนที่ไม่ได้อยู่ชายแดนก่อ คนก่อคือคนอยู่เมืองหลวง ใช้การเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองร่วมกับการที่ในประเทศเองก็มีความแตก แยกมาก จนอาจนำไปสู่การปฏิวัติได้ บ้านเมืองจะยิ่งจมดิ่งไปกว่านี้”

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหา-วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นเรื่องชายแดน และกระแสชาตินิยมกรณีพิพาทไทย-กัมพูชา ซึ่งถูกชูขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อต่อต้านและล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างเสียม โป๊ย กั๊ก แล้วใช้ประเทศเป็นข้ออ้าง ซึ่งปลุกระดมได้ง่าย

“การปลุกกระแสในขณะนี้ก็เพื่อขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ไล่ไปเรื่อยๆ ก็จะมีการยึดอำนาจ แล้วก็จะไม่มีประชาธิปไตย คนที่ไม่อยากใช้วิถีประชาธิปไตย คือคนไม่อยากเลือกตั้ง เพราะลงเลือกตั้งไปก็ไม่ได้สักที เลยรอเอาส้มหล่น ก็ไม่รู้ว่าส้มจะหล่นที่ใคร แต่เคยเห็นคนรุ่นเดียวกับผมได้ส้มหล่นไปหลายคน”

ชิงยุบสภาก่อนปฏิวัติ!

ดังนั้น นายอภิสิทธิ์จึงรู้ดีว่าถ้าไม่ชิงยุบสภาโดยเร็วก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิด ปฏิวัติรัฐประหาร หรือมี “อำนาจพิเศษ” ให้ลาออก เพื่อจัดตั้ง “รัฐบาลเฉพาะกาล” ซึ่งกลุ่มผู้มีอำนาจจะอ้างเข้ามาเพื่อแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองเหมือนเมื่อ ครั้งกลุ่มพันธมิตรฯขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยอ้างเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ความแตกแยก และการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง

การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯจึงไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่ไม่มีใครรู้ชัดเจนว่า ขณะนี้ “อีแอบ” ที่มีอำนาจที่แท้จริงนั้นตัดสินใจอย่างไรกับการเมืองไทย ไม่ใช่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจตามระบอบประชาธิปไตย

แม้แต่สำนักข่าวรอยเตอร์ยังรายงานว่า สาเหตุการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชายังคลุมเครือ แต่นักวิเคราะห์มองว่า สาเหตุอาจมาจากพวกนายพลสายเหยี่ยวในกองทัพไทยและกลุ่มพันธมิตรฯที่ปลุกกระแส ชาตินิยม พยายามโค่นล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ หรือพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการรัฐประหารอีกครั้ง และล้มการเลือกตั้ง

ไม่เช่นนั้นกลุ่มพันธมิตรฯคงจะไม่ประกาศยกระดับขับไล่นายอภิสิทธิ์ให้ตาย กันไปข้างหนึ่ง แม้แต่การโจมตี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. อย่างรุนแรง อาจเป็นละครฉากใหญ่ หลายฝ่ายจึงเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯกำลังสร้างเงื่อนไขเพื่อเปิดประตูสู่การ ปฏิวัติรัฐประหารมากกว่าให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งไม่มีผลดีใดๆกับกลุ่มพันธมิตรฯเลย โดยเฉพาะพรรค การเมืองใหม่ที่ไม่มีโอกาสได้ ส.ส. แม้แต่คนเดียว

อย่างแถลงการณ์ของพันธมิตรฯที่ระบุชัดเจนว่า ต้องการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความ สามารถ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจที่จะปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติ มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันให้หมดสิ้น มีวุฒิภาวะ และมีความเป็นผู้นำ ซื่อสัตย์ต่อชาติ ต่อประชาชน ไม่โกหกหลอกลวงประชาชน มีคุณธรรม ศีลธรรม เข้ามาบริหารชาติบ้านเมืองต่อไป

คนที่พันธมิตรฯต้องการจึงมีแค่ “พระเอกขี่ม้าขาว” ซึ่งจะโผล่ออกมาตาม “กลไกหรืออำนาจพิเศษ” จาก “มือที่มองไม่เห็น” ไม่ว่าจะผ่านทางกองทัพหรือตุลาการภิวัฒน์ก็ตาม

จากเหตุการณ์ปะทะกันที่ชายแดนไทย-กัมพูชาโดยไม่มีความชัดเจนในสาเหตุ บวกกับการเคลื่อน ย้ายกำลังและการประชุมกันในที่รโหฐานของบรรดาบิ๊กๆทั้งหลายที่ถูกปูดออกมา เป็นระลอก สอดประสานกับ “ม็อบมีเส้น” ที่แม้จะ “หะรอมหะแรม” แต่กลับมีกำลังภายในจนทำให้ “รัฐบาลเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว” ฉวยโอกาสประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดงไปในคราวเดียวกัน ย่อมแสดงถึงความหวั่นไหวของนายกรัฐมนตรีเบบี๋ที่สามารถเปลี่ยนสนามการค้าให้ เป็น “สนามรบและสนามเด็กเล่น” ได้ในคราวเดียวกัน

“การยุบสภาเพื่อหนีการถูกยึดอำนาจ” จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ล้านเปอร์เซ็นต์

ยุบสภาดีกว่า โดนปฏิวัติแน่นอน

บ๊ายบาย… เบบี๋มาร์ค!!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 298 วันที่ 12 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน้า 16
คอลัมน์ : เรื่องจากปก
โดย : ทีมข่าวรายวัน



คนโง่กับคนชั่ว!

มีคนพูดกันว่า “สถานการณ์เปลี่ยน คนเปลี่ยน”!

เหมือนสงครามล้างเผ่าพันธุ์พวกพ้องเดียวกันของ “เด็กเส้น” กับ “หล่อหลักลอย” ครั้งนี้เริ่มมีกลิ่นทะแม่งๆทั้งเหม็นและเน่าโชยมาอย่างน่าสงสัย ไม่ใช่แค่ “มิตรกลายเป็นศัตรู” หรือ “ศัตรูที่กลายเป็นมิตร”

แม้ล่าสุด “หล่อหลักลอย” จะงัด “กฎหมายความมั่นคง” ขึ้นมากำราบ “เด็กเส้น” โดยยื่นดาบให้ “บิ๊กน้อย” นั่งบัญชาการเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในพื้นที่ 7 เขตรอบอาณาจักร “หล่อหลักลอย” โดยจะเพิ่มกำลัง “หมาต๋า” จาก 20 กองร้อยเป็น 50 กองร้อย

ขณะที่ “เทพอมทุกข์” ก็สั่งให้สามารถเพิ่มกำลัง “หมาต๋า” ให้ทำงานได้ 100% เพื่อส่งสัญญาณถึง “เด็กเส้น” ว่าพร้อมจะสกัดและสลายม็อบทันทีหากล้ำเส้น!

แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอำนาจความมั่นคงที่นำร่องใช้งวดแรก 15 วันนั้น ไม่ได้ใช้เฉพาะ “เด็กเส้น” เท่านั้น แต่ถือโอกาสเตรียมไว้จัดการกับ “ไพร่ไม่มีเส้น” ที่จะนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ด้วย

การจัดการกับม็อบ 2 กลุ่ม 2 สี จึงจะเป็นการพิสูจน์ชัดๆอีกครั้งว่าจะใช้ “มาตรฐานเดียว” หรือ “มาตรฐานกู มาตรฐานมึง” อย่างไร เพราะที่ผ่านมา “บิ๊กหมาต๋า” ไม่กล้าแตะ “เด็กเส้น”

ทำให้เชื่อว่าครั้งนี้ “บิ๊กน้อย” ก็ทำได้แค่ “ขู่” แม้จะมีประกาศ “ศอ.รส.” ออกข้อกำหนดให้ “เด็กเส้น” ต้องเปิดการจราจรให้สามารถสัญจรไปมาได้ตามปรกติก็ตาม

แน่ยิ่งกว่าแช่แป้งว่า “เด็กเส้น” ไม่ยอมทำตามแน่!

ถ้า “บิ๊กน้อย” ไม่สามารถบังคับใช้ “กฎหมาย” ได้ “กฎหมาย” ก็กลายเป็น “กฎหมา (ย)” ซึ่งจะมีผลทันทีกับการชุมนุมใหญ่ของ “ไพร่ไม่มีเส้น”

แต่ที่หลายคน โดยเฉพาะนักวิชาการและนักวิชาเกิน ต่างมองว่ากระแสคลั่งชาติที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งกระหายสงครามและคลั่งความ รุนแรงนั้นต้องมีเบื้องลึกมากกว่า “เด็กเส้น” ออกมาไล่บี้ “หล่อหลักลอย” เพราะปม “ปราสาทพระวิหาร” ที่งัดออกมา หรือกรณีพื้นที่ซับซ้อนไม่กี่ตารางกิโลเมตรนั้น เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับผลประโยชน์มหาศาลที่อยู่ทั้งใต้ดินและใต้มหาสมุทร ที่ยังไม่มีการสำรวจอีกมากมาย

ในที่สุดใครหรือกลุ่มใดจะเอา “พุงปลา” ไปกิน เหมือนเพลง “ตาอินกะตานา” ที่ต่างก็หาปลา และเมื่อได้ปลามาก็จะแบ่งปันกันกินทุกวัน แต่แล้ววันหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นเพราะฟ้าครึ้มฝนหรือเคราะห์กรรมทำให้ทั้ง สองกลับแย่งปลากันและไม่สามารถตกลงกันได้เหมือนโกรธกันมาเป็นแรมปี

เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็มี “ตาอยู่” โผล่ออกมาเป็น “พระเอกขี่ม้าขาว” เพื่อเป็นคนกลางจัดการแบ่งปลาให้กับตาอินกับตานาซึ่งได้ “หัว” กับ “หาง” ปลา แต่ “ตาอยู่” กลับได้ “พุงปลา” ที่น่ากินที่สุดไป

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่บอกว่าใคร “กินหญ้า” หรือ “กินข้าว” แต่ยังเตือนสติว่า “คนโง่มักเป็นเหยื่อคนฉลาด” แต่ไม่ร้ายเท่ากับเป็นเหยื่อ “คนชั่วที่โกงบ้านโกงเมือง”!

ที่มา : โลกวันนี้ 10 กุมภาพันธ์ 2554
โดย : นายหัวดี

 


สิ่งที่ทำให้ ‘อภิสิทธิ์’ อยู่ไม่ได้!

ก่อนอื่นขอแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ซึ่งได้กล่าวไว้ในฉบับที่แล้วสักเล็กน้อย นั่นคืออาเซียนมีแผนการรวมกันเป็นประชาคมให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 เร็วกว่าเดิมที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2563 หรือ ค.ศ. 2020

และก่อนเข้าบทความอีกเหมือนกัน มีคำพูดจากคนขับแท็กซี่ซึ่งเป็นคนจนชาวไทยภาคอีสาน ที่ฝากถึงพลตรีจำลอง ศรีเมือง หรือลูกเจ๊ก ผู้นำการเคลื่อนไหวของมวลชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและสันติอโศก ที่ไปปักหลักนอนหนาวอยู่กลางถนน ปิดการจราจรของคนกรุงเทพฯ เป็นข้อคิดว่า “ประท้วงกันแล้วเศรษฐกิจก็ไม่เห็นจะดีขึ้น ค่าครองชีพมีแต่จะสูงขึ้น ทุกวันนี้ก็ต้องกินข้าวเพียงวันละ 2 มื้อแล้ว เพราะต้องเก็บเงินไว้เป็นค่าส่งแท็กซี่ด้วย”

สำหรับแนวทางการต่อสู้ของคนไทยกับพวกลูกจีนรักชาติหรือเจ๊ก ที่อาศัยแผ่นดินไทยอยู่และร่ำรวยอยู่กลุ่มเดียว โดยคนไทยส่วนใหญ่ที่ยากจนจะต้องมองพลตรีจำลองเป็นข้าศึก โดยมีกลุ่มลูกไทยรักชาติบอกกับผู้เขียนว่า “ผู้สันทัดในการศึกจะเป็นฝ่ายบงการข้าศึก ชักนำข้าศึกพลตรีจำลองเข้าสู่พื้นที่กำหนด และสกัดมิให้ข้าศึกออกจากพื้นที่”

ระยะนี้หากเราติดตามข่าวสารบ้านเมืองของต่างประเทศจะพบว่า หลายประเทศกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนตัวผู้นำประเทศของตูนิเซีย การเดินขบวนประท้วงและขับไล่ผู้นำของตนในแอลจีเรีย เยเมน เฮติ และล่าสุดที่อียิปต์ รวมถึงการทำประชามติเตรียมแยกประเทศอย่างซูดานใต้

สาเหตุสำคัญที่มีผลต่อการรวมกลุ่มประท้วงของประชาชนในประเทศนั้นๆคือ ปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา เริ่มจากทางยุโรปแล้วลุกลามไปทั่วโลก

แต่เดิมระบอบการปกครองของประเทศที่เป็นเผด็จการจะมีผลต่อการตัดสินใจ ชุมนุมประท้วงขับไล่ผู้นำ ของไทยก็เช่นเดียวกัน หากในเวลาต่อมาเมื่อโลกเข้าสู่ระบบทุนนิยมเต็มตัว ผู้นำเผด็จการทั้งหลายได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนสร้าง ความเจริญในประเทศของตน ซึ่งนอกจากตนและพวกพ้องจะได้รับประโยชน์แล้ว ยังก่อให้เกิดผลประโยชน์กับส่วนรวมด้วย คือประชาชนมีรายได้จากการลงทุนของต่างชาติ นั่นหมายถึงหากผู้นำจะกินกันก็ให้เผื่อแผ่ถึงประชาชนบ้าง อันนี้ประชาชนยอมได้ ไม่ว่ากัน

ปัญหาเรื่องปากเรื่องท้องเป็นปัญหาใหญ่ เพราะคนเราต้องกินต้องใช้ หากไม่มีรายได้จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับ เงินตราเป็นอันดับแรก ส่วนการบีบคั้นทางการเมืองหากไม่มีผลต่อการทำมาหากิน ประชาชนก็จะยังไม่รู้สึกเดือดร้อนเท่าใดนัก นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายแม้จะถูกปกครองโดยเผด็จการ แต่ประชาชนก็ไม่ได้ลุกฮือขึ้นมาขับไล่ผู้นำของตนตามที่ควรจะเป็นเหมือนใน ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์

เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำไม่สามารถดูแลปากท้องของประชาชนได้ดีพอ ประชาชนเริ่มรู้สึกว่าการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างผู้นำและพรรคพวกกับประชาชน ไม่เท่าเทียมกัน เมื่อนั้นประชาชนจะเริ่มลุกฮือขึ้นเรียกร้องให้ผู้นำของตนดำเนินการอย่างใด อย่างหนึ่ง และหากไม่สามารถดำเนินการได้ก็จะถูกขับไล่ ซึ่งหากถึงกรณีหลังนี้มักได้รับความช่วยเหลือจะกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เช่น ทหาร นักธุรกิจที่ไม่ได้รับการจัดสรรผลประโยชน์ให้เท่าเทียมกัน จะไม่ใช่การเคลื่อนไหวโดยกลุ่มประชาชนทั่วไปเพียงลำพัง

กรณีของอาร์เจนตินา ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซีย เป็นตัวอย่างของการไม่จัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนอย่างทั่ว ถึงในรุ่นก่อน

ในรุ่นนี้ กรณีการเกิดต้มยำกุ้งไครซิสหรือวิกฤตทางเงินเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่เริ่มจากไทยนั้น เนื่องจากเกิดกับกลุ่มนักธุรกิจที่เป็นการล้มบนฟูก และรัฐบาลไม่ได้ดำเนินการอันจะมีผลต่อประชาชนมากนัก ทำให้ไม่เกิดแรงประท้วงจากประชาชน แต่กรณีวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ปัญหาของแพง เงินเฟ้อส่งผลทั่วยุโรป ขณะเดียวกับที่รัฐบาลกรีซและอีกหลายประเทศเลือกที่จะปรับลดเงินเดือนข้า ราชการ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจจนถึงกับเดินขบวนประท้วง

ประเทศไทยก็ได้รับผลจากวิกฤตครั้งนั้นเช่นกัน แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดง ความชะงักงันทางเศรษฐกิจของประเทศถูกยึดโยงกับความเสียหายของบ้านเมืองใน ช่วงนั้น คนเสื้อแดงจึงถูกโยนให้ต้องแสดงความรับผิดชอบแทนรัฐบาลไปเต็มๆ พี่น้องเสื้อแดงทราบแล้วโปรดภูมิใจด้วย

และเมื่อวิกฤตทางการเงินลุกลามไปถึงประเทศทางแอฟริกา ด้วยเหตุที่ผู้นำของประเทศเหล่านั้นมุ่งหวังเพียงรักษาฐานทางเศรษฐกิจของตน โดยให้ประชาชนเป็นผู้แบกรับภาระทางเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ได้คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจน ขณะที่พวกตนนั้นมีฐานะความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน เมื่อถูกบีบคั้นมากเข้าประชาชนจึงลุกฮือขึ้นขับไล่ผู้นำของตน ด้วยเหตุผลเรื่องการคอร์รัปชันที่ประชาชนทนยอม (ให้ผู้นำกินฝ่ายเดียว) มาเป็นเวลานาน

กรณีของอียิปต์ยังไม่ใช่กรณีการชุมนุมประท้วงของประชาชนแห่งสุดท้ายแน่ นอน ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังรอการเคลื่อนไหว หากผู้นำโยนภาระความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจให้ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ

หันกลับมามองประเทศไทยบ้าง ถามว่าเวลานี้การชุมนุมประท้วงของพันธมิตรฯจะสามารถทำให้รัฐบาลลาออกได้หรือไม่ คำตอบที่ฟันธงได้คือไม่

เนื่องจากประเด็นการเรียกร้องเป็นเรื่องเฉพาะตัว คือการทวงคืนเขาพระวิหาร ซึ่งหากทำโพลกลุ่มผู้ชุมนุมเองไม่แน่นักว่าจะเข้าใจเรื่อง MOU43 สักเท่าใด นี่ยังไม่นับการโจมตีเรื่องที่รัฐบาลไม่สนใจช่วยอีก 2 คนไทยที่ยังอยู่ที่คุกกัมพูชา นอกจากนี้ผู้ร่วมชุมนุมยังน้อยกว่าที่คิดไว้มาก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของแกนนำเน้นที่การชุมนุมของกลุ่มลูกจีนรักชาติ ไม่ได้เน้นลูกไทย ทำให้ต้องรอลูกจีนทั้งหลายเสร็จภารกิจการไหว้บรรพบุรุษในวันศุกร์ก่อนแล้วคง จะได้เห็นผู้คนมาชุมนุมหนาตาขึ้น พร้อมกับแนวร่วมต่างจังหวัดที่จะได้หยุดงานวันเสาร์-อาทิตย์มาร่วม

พลตรีจำลองอาจจะต้องเปลี่ยนยุทธวิธีนำม็อบเข้าไปนั่งที่ทำเนียบรัฐบาลอีก ครั้งจึงจะประสบความสำเร็จ แต่อาจต้องแลกด้วยชีวิตของพี่น้องพันธมิตรฯ เพราะครั้งนี้รัฐบาลเตรียมการป้องกันทำเนียบไว้อย่างเข้มแข็ง ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมก็น้อยกว่าเดิม ครั้งก่อนสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นั้น กลุ่ม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อาจไม่กล้าพูดว่า “จำลองพาคนไปตายรอบสอง” แต่ครั้งนี้หากพลตรีจำลองยังคิดจะยกขบวนเข้าทำเนียบ คงมีเสียงพูดจากฟากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ว่าพลตรีจำลองพาคนไปตายรอบสามได้ อย่างชัดถ้อยชัดคำแน่ ขอให้คิดให้ดี การเอาชีวิตประชาชนเป็นเดิมพันเพื่อนำชัยชนะให้ตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ลูก ผู้ชายคนไทยพึงกระทำ

สิ่งที่จะขับไล่รัฐบาลให้ลงจากอำนาจในยุคทุนนิยมได้คือปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ดูเหมือนรัฐบาลชุดนี้จะรู้ปัญหาของประเทศแล้ว นโยบายประชาวิวัฒน์จึงเกิดขึ้น แม้ประชาชนจะไม่ได้รับผลมากมายก็ตาม แต่ยังแสดงให้เห็นว่าผู้นำประเทศยังสนใจแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ความไม่พอใจของประชาชนจึงยังมีไม่มากนัก

หากพลตรีจำลองสามารถหาคนมาชุมนุมขนาด “One-Million March” แบบอียิปต์ได้ค่อยมาดูกันอีกทีดีกว่า!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 297 วันที่ 5 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน้า 12
คอลัมน์ : หอคอยความคิด
โดย : วิษณุ บุญมารัตน์