จดหมายเปิดผนึก ‘โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม’

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความต่างประเทศของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงพี่น้องเสื้อแดง บอกเล่าอะไรหลายเรื่องที่น่าสนใจ มีใจความดังนี้

ทำเพื่อความยุติธรรม

เรียน สหายที่รักทุกท่าน

ตั้งแต่การแถลงข่าวของผมที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการถกเถียงอภิปรายคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง หลายคนกล่าวหาว่าเหตุผลที่ผมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพราะผมจงใจทำลายประเทศไทย บ้างก็หาว่าผมต้องการเอาใจนายจ้าง หรือไม่ก็หาว่าผมเห็นแก่เงิน

ผมยื่นคำร้องดังกล่าวด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกคือ ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯเมื่อ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จึงตั้งใจที่จะบันทึกเหตุการณ์นองเลือดดังกล่าว โดยผมเชื่อว่าในหลายปีที่ผ่านมาการบันทึกรายละเอียดของความอยุติธรรมจะช่วย หยุดยั้งความอยุติธรรมในที่สุด การทำงานของผมในรัสเซีย ผมต้องสูญเสียกลุ่มเพื่อนและทนดูคนทำผิดลอยนวล ซึ่งในความจริงแล้วมันยากสำหรับผมที่จะมองดูคนทำผิดลอยนวล เมื่อก่อนผมเข้าใจว่าการยื่นคำร้องนี้เป็นเรื่องยากมาก เพราะศาลอาญาระหว่างประเทศมักเลือกรับคดีที่มีคนตายเป็นจำนวนหลายล้านคน

ว่าด้วยสัญชาติอังกฤษ

แต่หลังจากที่ศาลอาญาระหว่างประเทศตัดสินใจรับคดีของเคนยาเมื่อเดือน มีนาคมปีที่แล้ว ทำให้เราพอมีหวัง เพราะคดีของเคนยาไม่ใช่เหตุการณ์สงคราม แต่เป็นเรื่องความวุ่นวายที่เกิดจากความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 1,200 ราย ระยะเวลาของเหตุการณ์กินเวลานานเป็นอาทิตย์ไม่ใช่เป็นเดือน และผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ยังได้เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯเมื่อไม่นานมานี้ด้วย

กรณีของเคนยาทำให้คำร้องของเรามีโอกาสในระดับหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงคือประเทศไทยไม่ได้ลงนามในศาลอาญาระหว่างประเทศ ตอนที่ผมคุยกับกลุ่มคนไทยและมีคนหนึ่งถามผมว่าจะช่วยอะไรมากไหมหาก “นายมาร์ค” เป็นคนอังกฤษ ปัจจุบันประเด็นดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ทุกคนพูดถึง ณ วันนี้ “นายมาร์ค” (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ล้มเหลวที่จะแสดงเอกสารว่าเขาได้สละสัญชาติอังกฤษแล้ว เป็นการย้ำว่าประเด็นที่ “นายมาร์ค” เป็นและยังคงถือสัญชาติอังกฤษอยู่นั้นเป็นเรื่องจริง ดังนั้น เขาจึงตกอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ

ต้องทำให้เป็นนิติรัฐ

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยกเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศและประเด็นการรับพิจารณาคดี เหตุการณ์ในประเทศไทย แต่โอกาสที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาคดียังคงมีน้อย แต่หากศาลไม่รับฟ้องเราสามารถแสดงหลักฐานเพิ่มเติมและยื่นคำร้องใหม่ได้อีก ครั้ง และนั่นเป็นสิ่งที่เราจะทำอย่างแน่นอน

ไม่ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับหรือไม่รับพิจารณาคดีก็ตาม เราจะเดินหน้าหาหนทางที่จะทำให้ประเพณีการละเว้นโทษสิ้นสุดลง เพื่อนำความเป็นธรรมมาให้แก่เหยื่อความรุนแรงของรัฐ ประเทศไทยจะสงบสุขได้ก็ต่อเมื่อเมื่อเกิดหลักนิติรัฐ ไม่ว่าวิธีการที่จะได้มาซึ่งหลักนิติรัฐจะยากและเจ็บปวดแค่ไหนก็ตาม เพราะหากมีการละเว้นโทษแก่เจ้าหน้าที่รัฐในนามของการ “ปรองดองสมานฉันท์” และ “การให้อภัย” แล้วย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่าโศกนาฏกรรมแบบเดิมจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความสงบสุขและความสมานฉันท์ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพูดความ จริงเท่านั้น

เผยโฉมผู้ก่อการร้ายที่แท้จริง

ประการที่สองคือ ผมเป็นตัวแทนของแกนนำเสื้อแดงทั้ง 19 คนที่ถูกคุมขังในข้อหาก่อการร้ายในขณะนี้ พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาที่ไร้สาระดังกล่าว พวกเขาถูกลิดรอนสิทธิในการพิจารณาคดีในศาล และเพื่อที่จะรักษาชีวิตของพวกเขา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบันทึกว่าใครคือผู้ก่อการร้ายที่แท้จริง ผู้ก่อการร้ายที่แท้จริงคือบุคคลที่สั่งฆ่าพลเรือนอย่างเลือดเย็น และเรารู้ว่าพวกเขาเป็นใครและอยู่ที่ไหน

ประการที่สามคือ เราจัดทำเว็บไซต์ว่าด้วยเรื่องความรับผิด http://www.thaiaccountability.org/ ทั้งนี้ เพื่อจะย้ำให้เห็นถึงประเพณีการละเว้นโทษ ไม่นานมานี้ผมเดินทางไปยังกรุงเจนีวาเพื่อเป็นที่ปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับคดี ที่ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น ยื่นต่อสหพันธ์รัฐสภาสากล (Inter-Parliamentary Union) ดร.วิบูลย์ทำงานอย่างดีในการนำเสนอให้เห็นถึงการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายใน การลิดรอนสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองทั้ง 215 คน เป็นเวลา 5 ปี และการสั่งยุบพรรคการเมืองด้วยการใช้หลักความรับผิดร่วมตามมาตรา 237 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยรัฐบาลทหาร ผมรู้สึกยินดีที่จะประกาศว่าในวันศุกร์ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้รับแจ้งจาก สหพันธ์รัฐสภาสากลว่าจะเข้ามาสอบสวนกรณีที่ ดร.วิบูลย์ได้ร้องเรียนไป

ประเพณีละเว้นโทษ

ประการที่สี่ ในอาทิตย์นี้เราจะเริ่มดำเนินการขับพรรคประชาธิปัตย์ออกจากสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยม ไม่ใช่เพียงแค่เพราะพรรคประชาธิปัตย์สั่งปิดเว็บไซต์ หรือผลักเรือของผู้ลี้ภัยโรฮิงญาออกไปยังน่านน้ำสากล แต่ยังเป็นเพราะพวกเขาพยายามปกปิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอีกด้วย

การกระทำเหล่านี้ถือเป็นการต่อต้านคนไทยหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ แต่เป็นการกระทำที่ต่อต้านนายมาร์ค ประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และประเพณีการละเว้นโทษ ผู้นำทางการเมืองทุกคนต่อสู้เพื่อให้คงประเพณีนี้โดยใช้กระแสชาตินิยมเป็น เครื่องมือ ยุทธศาสตร์นี้ถือเป็นที่รู้จักกันทั่วไป มีชื่อว่ายุทธศาสตร์ห่อหุ้มตนเองด้วยธงชาติ หรือบางประเทศใช้สงครามเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาทางการเมืองที่แท้ จริง ดูตัวอย่างจากภาพยนตร์ที่ชื่อว่า wag the dog ซึ่งนำแสดงโดยดัสติน ฮอฟฟ์แมน ผมเชื่อว่าเราน่าจะส่งวิดีโอการปะทะที่ชายแดนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปให้เขาดู

ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน

ส่วนเรื่องการโจมตีผมด้วยเรื่องส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องจริง เพราะผมได้รับค่าจ้างจากการทำงานนี้ คำถามคือจำเป็นไหมที่ผมจะต้องหาเงินจากการทำงานให้คนเสื้อแดงและทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)

ด้วยความเคารพ ผมเลือกงานนี้เพราะนอกจากจะได้รับเงินค่าจ้างแล้ว ผมยังเชื่อในอุดมการณ์ของคนเสื้อแดง นายมาร์ครู้ดีว่าเงินไม่ใช่สิ่งจูงใจผม เพราะผมทำงานให้กับ ดร.ฉี ซูน จวน ผู้นำพรรคประชาธิปไตยในสิงคโปร์ พรรคการเมืองน้องๆของพรรคนายมาร์คเป็นเวลา 5 ปี ผมทำงานนี้เพื่อประชาธิปไตยและไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ นายมาร์คและหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รู้ดี แต่พวกเขาเลือกที่จะเพิกเฉยกับข้อมูลนี้เพราะมุ่งที่จะโจมตีผมด้วยเรื่อง ส่วนตัว และเลี่ยงที่จะกล่าวถึงเนื้อหางานที่ผมทำในนามของพวกท่าน เพราะพวกเขาไม่สามารถโจมตีเนื้อหางานผมได้ เป็นเวลาหลายเดือนที่เราจัดทำเอกสารหลายร้อยหน้าและรวบรวมหลักฐานที่ต่อต้าน การกระทำของรัฐบาลในสมุดปกขาว คำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศสองฉบับ คำร้องต่อสหพันธ์รัฐสภาสากล คำร้องต่อสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยม และบทความหลายบทความในบล็อกของเรา จนถึงทุกวันนี้รัฐบาลหรือกลุ่มอำมาตย์ล้มเหลวที่จะโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ อยู่ในเอกสารเหล่านี้

ประชาชนต้องเข้มแข็ง

เมื่อไม่นานมานี้มีการพูดคุยถึงเรื่องการปฏิรูปและ “ปรองดองสมานฉันท์” บ่อยครั้งในประเทศไทย ในฐานะนักกฎหมายที่มีประสบการณ์ในหลายประเทศที่ระบบนิติรัฐอ่อนแอ ผมขอเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปที่อาจช่วยนำพาประเทศไทยไปสู่ความสงบสุขและความ เป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน

สิ่งสำคัญอย่างแรกที่จะสร้างความ“ปรองดองสมานฉันท์” คืออำนาจของพลเรือนต้องเข้มแข็งเหนืออำนาจของกลุ่มทหารและอำมาตย์ โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ก) กองกำลังติดอาวุธต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ข) เสริมสร้างและพัฒนาประชาธิปไตยและสถาบันของรัฐ และ ค) ขยายช่องทางในการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย

ประชาชนเลือก ส.ส., ส.ว.

รัฐธรรมนูญในประเทศไทยทุกฉบับให้อำนาจสูงสุดแก่ประชาชน แต่ในทางปฏิบัติแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย อำนาจสูงสุดจะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงเมื่อ ก) ปฏิรูปหรือปรับปรุงให้องค์กรรัฐบาลทั้งสามองค์กรมีความทันสมัย ข) องค์กรดังกล่าวมีความเป็นอิสระและแยกออกจากกัน และ ค) ปลดอำนาจและอิทธิพลของกองทัพ ข้าราชการ และผลประโยชน์ทางการเงินออกจากองค์กรทั้งสาม

องค์กรของรัฐทั้งสามต้องทำหน้าที่เพื่อการันตีว่าประชาชนไทยจะมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี มีเสรีภาพ ได้รับความเป็นธรรม มีความปลอดภัย และมีสิทธิในการพัฒนาความเป็นปัจเจกชนของพวกเขา แนวความคิดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจะต้องมีการยกเลิกหลักการปกป้องอำนาจ และอภิสิทธิ์ของคนกลุ่มน้อย

ประการแรก อำนาจในการตรากฎหมายจะต้องเป็นของรัฐสภา และสภาทั้งสองจะต้องประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ทุกที่ และเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งลับ รัฐสภาต้องนำเสนอความต้องการที่หลากหลายในสังคมไทย อาทิ ความต้องการจะต้องสอดคล้อง ไม่ใช่มาจากความรู้สึกจอมปลอมของคำว่า “ความเป็นหนึ่งเดียว” ที่ถูกบังคับใช้จากเบื้องบน แต่ควรจะมาจากการแข่งขันทางความหลากหลาย การถกเถียงที่มีเนื้อหาโครงสร้าง และการประนีประนอม

ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

ประการที่สอง หนึ่งในความอ่อนแอของโครงสร้างหลักของรัฐไทยคือ ความผิดพลาดและการเลือกปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติที่โบราณคร่ำครึ กระบวนการพิจารณาคดีที่ล่าช้า ขาดความทันสมัยในการบริหารจัดการสำนักงาน และไม่มีการตรวจสอบการโกงกินและความไร้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้องค์กรยังเต็มไปด้วยการแทรกแซงทางการเมือง ความสองมาตรฐานในการดำเนินคดี รวมถึงคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปและปรับปรุงองค์กรยุติธรรมให้ทันสมัยควรจะเริ่มจากการหยุดยั้งการ ปกปิดประเพณีการละเว้นโทษและการโกงกินอย่างเป็นระบบ รวมถึงการันตีความยุติธรรมและเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย

ประการที่สาม ฝ่ายบริหารต้องนิยามคำว่า “ความมั่นคง” ใหม่ กองทัพควรมีหน้าที่ปกป้องภัยอันตรายจากภายนอกเท่านั้น ส่วนหน้าที่ในการป้องกันภัยต่อพลเรือนและความมั่นคงภายในควรเป็นเรื่องของ ตำรวจ ความมั่นคงของประชาชนและรัฐไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการลิดรอนสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพลเรือน ความไม่เท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจ ความยากจน การเลือกปฏิบัติทางการเมืองและสังคม และการโกงกินต่างหากที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและภัยโดยตรงต่อระบอบประชาธิปไตย ความสงบสุขทางสังคม และหลักการประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน

การที่จะการันตีประชาชนว่ามีความปลอดภัยทางเศรษฐกิจ สังคม และส่งเสริมศักยภาพชุมชนและปัจเจกชน ประเทศไทยต้องตรากฎหมายสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการได้รับค่าจ้างในการทำงานอย่างเป็นธรรม สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สิทธิในการพักผ่อนหย่อนใจ สิทธิในการสร้างและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะได้รับความมั่นคงในชีวิตเมื่อว่างงาน เจ็บป่วย พิการ เป็นม่าย ชราภาพ หรือไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปรกติในสถานการณ์ที่เขาไม่สามารถควบคุมได้ ตามคำประกาศสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุว่า “มารดาและเด็ก” จะต้องได้รับความดูแลเป็นพิเศษ สตรีจะต้องได้รับสิทธิที่หลากหลายในการมีบุตร

รัฐบาลจะต้องทำทุกอย่างภายใต้อำนาจที่ตนมีเพื่อจะการันตีประสิทธิภาพของ สิทธิเหล่านี้ และสมาชิกทุกคนในสังคมให้มีสิทธิเท่าเทียม ไม่ว่าจะเขาจะมีเพศ เชื้อชาติ หรือภาษาวัฒนธรรมใดก็ตาม สรุปคือจะต้องมีการก่อตั้งรัฐสวัสดิการเพื่อเอื้อให้ประชาชนไทยได้มีสิทธิ ทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยใช้รายได้จากการเก็บภาษีก้าวหน้า ซึ่งคนรวยต้องจ่ายมากที่สุด

ห้ามกองทัพฆ่าประชาชน

ในกรณีของความมั่นคงส่วนรวมจะต้องมีการสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิส่วน รวมเพื่อสร้างความมั่นคงต่อสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองของพลเรือน กล่าวคือ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯภายในปี 2551 จะต้องถูกยกเลิกและร่างใหม่ ต้องมีการปฏิรูป พ.ร.ก.ฉุกเฉินปี 2548 อย่างครอบคลุม ตามหลักสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง ซึ่งจำกัดการลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญต่อเมื่อมีภัยคุกคามชีวิตของประชาชน ส่วนรวมเท่านั้น จะต้องมีการร่างข้อกำหนดใหม่เพื่อไม่ให้กองทัพมีโอกาสใช้ปืนยิงประชาชนอีก และต้องมีการปรับปรุงสำนักงานตำรวจให้ทันสมัยและเป็นกองกำลังมืออาชีพ มีการฝึกอย่างเหมาะสมในการควบคุมฝูงชน โดยมีมาตรฐานทางสิทธิมนุษยชน และได้รับการเคารพจากประชาชนที่พวกเขามีหน้าที่ “ปกป้องและรับใช้”

ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

การสร้างความเข้มแข็งให้กับอำนาจพลเรือนจะต้องเพิ่มความสามารถของพลเรือน ในการมีส่วนร่วมทางสังคม โดยเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมของพลเรือน และสร้างความสามารถในการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าเขาจะมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจหรือสถานะทางสังคมแบบไหนก็ตาม

การให้ประชาชนไทยได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และได้รับข้อมูล ข่าวสารอย่างทั่วถึงทุกมุมเกี่ยวกับสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และต้องยกเลิกการจำกัดเสรีภาพในการพูดที่มีอยู่ตอนนี้ทั้งหมด

นอกจากนี้การปฏิรูปที่เน้นย้ำให้ประชาชนมีส่วนร่วมต้องมีการปฏิรูประบบ การศึกษาอย่างครอบคลุม อาทิ เป้าหมายแรกไม่ควรเน้นแนวคิดความเป็นหนึ่งเดียว แต่ควรเน้นการพัฒนาความสามารถ ความเป็นปัจเจกชน และความมีประสิทธิภาพทางการเมืองของพลเรือน

คนผิดต้องได้รับการลงโทษ

การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นจะต้องมีการปฏิรูปโดยการกระจายอำนาจรัฐ เพื่อทำให้อำนาจรัฐสร้างประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด และสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนให้ดีขึ้น ไม่เพียงแต่องค์กรรัฐในระดับจังหวัดและเทศมนตรีเท่านั้นที่ควรมีอำนาจอย่าง เต็มที่ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ควรถูกแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอีกต่อไป ควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนที่พวกเขาต้องรับใช้

ท้ายที่สุดแล้วความสงบสุขที่ถาวรเกิดจากรากฐานของความยุติธรรม “การรับผิดและความยุติธรรมจะปกป้อง ป้องกันสิทธิ หยุดยั้ง และเตรียมพร้อมไม่ให้เกิดการกระทำผิดอีก” องค์กรสหประชาชาติกล่าวไว้ในหลักปฏิบัติว่าด้วยการละเว้นโทษ และนอกจากจะจัดตั้งสิทธิในการรับรู้ส่วนบุคคลของสังคมและสิทธิในการรู้ ข้อมูลของผู้ถูกกระทำแล้ว ยังมีการพูดถึงเรื่องสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม ซึ่งรัฐจะต้องการันตีว่า “บุคคลที่มีส่วนรับผิดในอาชญากรรมรุนแรงภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศจะถูก ดำเนินคดี พิจารณาคดี และลงโทษ”

อย่าให้คนผิดลอยนวล

ประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ การจัดการกับอดีตและการดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมต่อเหยื่อการทำ ร้ายอย่างเป็นระบบเป็นพื้นฐานเดียวที่จะสร้างอนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและสงบ สุขให้กับสังคม ควรมีการตั้ง “คณะกรรมการค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์” อย่างแท้จริง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสมานฉันท์ปรองดอง โดยอาจใช้รูปแบบของประเทศแอฟริกาใต้ จุดมุ่งหมายของคณะกรรมการไม่ควรตรวจสอบแต่เหตุการณ์ความรุนแรงล่าสุด แต่ควรตรวจสอบเหตุการณ์ฆ่าหมู่ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในปี 2516, 2519 และ 2535 ด้วย

เราไม่ควรปล่อยให้พวกอำมาตย์ลอยนวลจากอาชญากรรมสังหารประชาชนอีกครั้ง เราต้องช่วยกันหยุดยั้งประเพณีการละเว้นโทษ เราจะต้องไม่ให้ พล.อ.ประยุทธ์และกองทัพควบคุมอนาคตประเทศไทย อนาคตอยู่ในกำมือของพวกท่าน

ศรัทธาเสื้อแดง

ผมอยากกล่าวอีกครั้งว่าผมรู้สึกเป็นเกียรติมากแค่ไหนที่ได้เป็นตัวแทนคน เสื้อแดง ผมรู้สึกท่วมท้นในศรัทธาที่พวกคุณมีต่อหลักนิติรัฐที่จะช่วยปรับปรุงระบบ กฎหมาย ความจริงใจของพวกคุณที่ต้องการจะสร้างความปรองดองและเป็นธรรมช่างต่างจากการ ที่กองทัพและรัฐบาลพยายามจะทำลายการเคลื่อนไหวนี้และกำจัดแกนนำของพวกท่าน โดยกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงของผู้ก่อการร้าย

มุมมองที่สำคัญของคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศคือเป็นสิ่งที่พิสูจน์ ว่าเราหยิบยกแผนการของรัฐบาลอัปยศที่ต้องการลอบสังหารแกนนำของพวกท่านและ พยายามปกปิดหลักฐานเพื่อไม่ให้นายอภิสิทธิ์และกองทัพต้องรับผิดขึ้นมาพูดถึง และวิธีการหนึ่งที่จะโจมตีประเพณีการละเว้นโทษคือการรณรงค์เขียนจดหมายถึง สถานทูตสหรัฐว่า “We Count TOO” เพราะรัฐบาลสหรัฐไม่สามารถสนับสนุนผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีร์ แต่ยังคงสนับสนุนรัฐบาลทหารในไทยได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน ปีที่ 12 ฉบับที่ 2991 ประจำวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
คอลัมน์ : รายงานพิเศษ
โดย : ทีมข่าวการเมือง


เปิดดูรายงานประจำปี “ฮิวแมนไรท์วอท์ช”… คำสัญญารัฐบาลยังไม่เป็นจริง

ฮิวแมนไรท์วอท์ช องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ออกรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก ในส่วนของสถานการณ์ในประเทศไทย ระบุว่า ความไร้เสถียรภาพ และการแบ่งขั้วทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปในปี 2553 ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นครั้งคราว ในช่วงที่เกิดการต่อสู้กันบนท้องถนนด้วยสาเหตุทางการเมืองระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 2,000 คน ขณะที่คำสัญญาสาธารณะของรัฐบาลไทยที่กล่าวไว้ว่า จะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน ความปรองดองทางการเมือง และความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมา

มกราคม 2554

สรุปสถานการณ์ประเทศไทย

ความไร้เสถียรภาพ และการแบ่งขั้วทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปในปี 2553 ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นครั้งคราว ในช่วงที่เกิดการต่อสู้กันบนท้องถนนด้วยสาเหตุทางการเมืองระหว่างเดือน มีนาคมถึงพฤษภาคม มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 2,000 คน คำสัญญาสาธารณะของรัฐบาลไทยที่กล่าวไว้ว่า จะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน ความปรองดองทางการเมือง และความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมา

ความรุนแรงทางการเมือง

ภายหลังจากที่เริ่มการชุมนุมอย่างค่อนข้างสันติมาได้หนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 7 เมษายน ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ได้เคลื่อนขบวนไปบุกรัฐสภา ทำให้คณะรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภาต้องหนีออกจากอาคาร นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และทหารขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์ และบังคับใช้อำนาจฉุกเฉิน

ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน ศอฉ. ระดมทหารนับพันนายเพื่อพยายามยึดพื้นที่สาธารณะคืนจากการครอบครองของ นปช. หรือ “คนเสื้อแดง” การดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงรอบๆ บริเวณสะพานผ่านฟ้า ตกกลางคืนทหารถูกกองกำลังติดอาวุธที่เรียกว่า “คนชุดดำ” ซุ่มโจมตีด้วยอาวุธหนัก ทั้งนี้ กองกำลัง “คนชุดดำ” ดังกล่าวมีความเกี่ยวโยงกับ นปช. และปฏิบัติการคู่ขนานกันไปกับ นปช. ขณะเดียวกันก็มีการ์ด นปช. และผู้ประท้วงบางคนใช้อาวุธ เช่น ปืนพก วัตถุระเบิดที่ทำขึ้นเอง ระเบิดเพลิง และหนังสติ๊กโจมตีทหาร ในระหว่างที่ทหาร ซึ่งอยู่ในภาวะแตกตื่นล่าถอยนั้น ทหารได้ยิงกระสุนจริงเข้าใส่ผู้ประท้วง รัฐบาลรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 26 คน (รวมทั้งทหารห้าคน) และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 960 คน (รวมทั้งทหาร 350 คน) ในเหตุการณ์ครั้งนี้

ระหว่างวันที่ 23 และ 29 เมษายน กลุ่มการ์ดติดอาวุธของ นปช. บุกเข้าค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทุกคืน โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางคนยินยอมให้ทหาร และผู้สนับสนุนรัฐบาลเข้ามาใช้โรงพยาบาลเป็นสถานที่หลบซ่อนตัว ทำให้โรงพยาบาลต้องย้ายคนไข้ออกไป และปิดการให้บริการเกือบทั้งหมดเป็นการชั่วคราว

การเจรจาระหว่างสองฝ่ายในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมตามข้อเสนอ 5 ข้อของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ต้องล้มเลิกไป เมื่อพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของทักษิณ ได้ร่วมมือกับแกนนำหัวรุนแรงคนอื่นๆ พยายามยึดอำนาจจากแกนนำของ นปช. กลุ่มที่พยายามเดินสายกลาง ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ประกาศเตือนว่ารัฐบาลวางแผนสลายการชุมชนของ นปช. ที่บริเวณแยกราชประสงค์

ระหว่างที่กองกำลังของรัฐบาลเคลื่อนเข้าโอบล้อมบริเวณที่ชุมนุมของ นปช. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมนั้น มือปืนไม่ทราบฝ่ายลอบยิงพลตรี ขัตติยะ ซึ่งเขาเสียชีวิตในอีกสี่วันต่อมา ความรุนแรงยกระดับสูงขึ้นเมื่อผู้ประท้วงฝ่าย นปช. และกองกำลัง “คนชุดดำ” เริ่มต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่มาโอบล้อมที่มั่นของพวกตน ศอฉ. ประกาศกฎการปะทะ ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้กระสุนจริงได้ในกรณีต่อไปนี้ คือ

1)    เป็นการยิงเตือนเพื่อป้องปรามไม่ให้ผู้ประท้วงเคลื่อนเข้ามาประชิด

2)    เป็นการป้องกันตัว และ

3)    เมื่อเจ้าหน้าที่มองเห็น “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ให้คำนิยามที่ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติการจริงนั้น พลซุ่มยิงของกองทัพยิงทุกคนที่ล้ำเข้าไปเขต “ห้ามเข้า-ออก” ระหว่างแนวเครื่องกีดขวางของฝ่าย นปช. กับแนวของทหาร หรือใครก็ตามที่ขว้างปาสิ่งของใส่ทหาร นอกจากนี้ บางครั้งทหารก็ยิงเข้าใส่ฝูงชนฝ่ายผู้ประท้วงด้วยเช่นกัน

วันที่ 19 พฤษภาคม รัฐบาลเริ่มปฏิบัติการทางทหารเพื่อยึดพื้นที่คืนรอบๆ บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งนำไปสู่การสู้รบกันบนท้องถนนอีกครั้งหนึ่ง โดยทหารใช้กระสุนจริง ขณะที่ผู้ประท้วงฝ่าย นปช. บางส่วน และกองกำลัง “คนชุดดำ” ก็ยิงต่อสู้กับทหาร ประมาณเที่ยงวันแกนนำคนสำคัญของ นปช. ยอมเข้ามอบตัว ส่วนผู้ประท้วงนับพันพากันไปหาที่หลบภัยในวัดปทุมวนาราม ซึ่งถูกประกาศให้เป็นเขตปลอดภัย (“เขตอภัยทาน”) โดยการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง นปช. กับรัฐบาลก่อนหน้านี้

การสอบสวนขององค์การฮิวแมนไรท์วอท์ช โดยอาศัยปากคำของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานทางนิติเวชวิทยาพบว่า ทหารใช้ปืนยิงใส่ผู้ที่เข้ามาหลบภัยอยู่ในวัด ทำให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์อาสา และประชาชนเสียชีวิตหกคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายคน ภายหลังจากการเข้ามอบตัวของแกนนำ นปช. ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่ง และกองกำลัง “คนชุดดำ” ก็เริ่มบุกปล้นสะดม และวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และสถานที่อื่นๆ ในกรุงเทพเป็นเวลาสองวัน นับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการดังกล่าวมีลักษณะของการวางแผนประสานงานกัน อนึ่ง ก่อนหน้านี้ แกนนำคนสำคัญของ นปช. ยุยงให้ผู้ที่สนับสนุนฝ่ายตนลงมือปล้นสะดม และวางเพลิง ถ้าหากรัฐบาลใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของ นปช.

การต่อสู้กันบนท้องถนนทำให้ผู้สื่อข่าว และช่างภาพได้รับบาดเจ็บอย่างน้อยเก้าคน โดยมีผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติเสียชีวิตสองคน กลุ่มผู้ประท้วง นปช. บุกเข้าเผาสำนักงานใหญ่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในกรุงเทพฯ และเผาสำนักงานสาขาในต่างจังหวัดของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม โดยกล่าวหาว่าสถานีทั้งสองแห่งรายงานข่าวด้วยอคติเข้าข้างรัฐบาล

ในวันเดียวกันนั้น ผู้สนับสนุน นปช. ในต่างจังหวัดได้ก่อจลาจล และเผาสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายในจังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และมุกดาหาร ในเหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงยิงปืนเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสามคน และบาดเจ็บอีกนับสิบคน

ตลอดปี 2553 มีการโจมตีด้วยระเบิดในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ หลายครั้ง โดยมีเป้าหมาย คือ สถานที่ราชการ และค่ายทหาร รวมทั้งการใช้ระเบิดโจมตีกลุ่มการเมือง บริษัท และทรัพย์สินของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับ นปช. ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 22 เมษายน มีการยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าใส่กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลใกล้แยกศาลาแดง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน และบาดเจ็บอีก 85 คน

เพื่อปูทางไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ สนับสนุนให้มีการสอบสวนด้วยความเป็นกลางเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิด ขึ้นจากกระทำของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม นปช. กล่าวว่ากระบวนการสอบสวนนี้ไม่เป็นอิสระ และไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง รวมทั้งยังขาดความร่วมมืออย่างเต็มที่จากกองทัพ จนถึงขณะนี้ การสอบสวน ทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และโดยคณะกรรมาธิการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดอง (คอป.) ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษยังมีความคืบหน้าน้อยมาก

การควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 7 เมษายน รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดในการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัด

พระราชกำหนดฉบับนี้อนุญาตให้ ศอฉ. สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีข้อกล่าวหาได้นาน 30 วันในสถานที่คุมขังที่ไม่เป็นทางการ และยังให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ไม่ให้ถูกดำเนินคดีที่เกิดขึ้นจากการ กระทำส่วนใหญ่ที่เป็นการบังคับใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนด

ศอฉ. ทำการสอบสวน จับกุม และควบคุมตัวแกนนำ และสมาชิกของ นปช. ที่ร่วมในการประท้วง รวมทั้งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสนับสนุน นปช. นอกจากนี้ ศอฉ. ยังได้ออกหมายเรียกบุคคลอีกนับร้อยมาสอบสวน ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักธุรกิจ นักกิจกรรม นักวิชาการ และผู้จัดรายการวิทยุ รวมทั้งยังอายัติบัญชีธนาคารของบุคคล และบริษัท ตลอดจนได้ควบคุมตัวบุคคลบางคนไว้ในเขตทหาร ศอฉ. ออกคำสั่งให้ผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติ ผู้สื่อข่าวไทย และเจ้าหน้าที่ในหน่วยแพทย์อาสาไปรายงานตัวต่อกองบัญชาการของ ศอฉ. และแสดงหลักฐานยืนยันคำแถลงต่อสาธารณะของบุคคลเหล่านั้นที่ระบุว่า พวกตนเห็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขณะที่องค์การฮิวแมนไรท์วอท์ชเขียนรายงานสรุปสถานการณ์ประจำปีนี้ รัฐบาลยังไม่แสดงข้อมูลว่า บุคคลที่ถูก ศอฉ. ควบคุมตัวไว้ โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหานั้น มีจำนวนทั้งสิ้นเท่าไร และบุคคลเหล่านั้นถูกควบคุมตัวอยู่ที่ไหน

การปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ศอฉ. อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินปิดเว็บไซต์มากกว่า 1,000 แห่ง และปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหนึ่งสถานี รวมทั้งยังได้ปิดช่องโทรทัศน์ออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสถานีวิทยุชุมชนอีกมากกว่า 40 สถานี โดยสื่อมวลชนต่างๆ ที่ถูกปิดเกือบทั้งหมดนั้นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกับ นปช.

นอกจากนี้ รัฐบาลยังอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และข้อหาเรื่องการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเป็นเครื่องมือปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต และดำเนินคดีกับผู้ที่ต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับ นปช. โดยกล่าวหาบุคคลเหล่านั้นว่าเป็นผู้ที่สร้างกระแสต่อต้านสถาบันพระมหา กษัตริย์ และเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ จีรนุช เปรมชัยพร เว็บมาสเตอร์ของประชาไท ถูกจับเมื่อวันที่ 24 กันยายน ด้วยข้อหาการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการส่งข้อความจากผู้อ่านที่ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นสถาบันพระมหา กษัตริย์เข้ามายังกระดานสนทนาของเว็บไซต์ประชาไทเมื่อปี 2551

นโยบายการต่อต้านยาเสพติดที่ละเมิดสิทธิ มนุษยชน

รัฐบาลสนับสนุนให้มีการรื้อพื้นการสอบสวนกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาว่าพัวพัน กับการค้ายาเสพติดจำนวน 2,819 คนถูกสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการประกาศ “สงครามยาเสพติด” เมื่อปี 2546 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความคืบหน้าน้อยมาก ทั้งในส่วนของการนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม และในส่วนของการยุติการกระทำทารุณอย่างเป็นระบบของตำรวจ และการใช้อำนาจโดยมิชอบในปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด ในเดือนมิถุนายน 2553 ตำรวจจังหวัดราชบุรียิง และสังหาร มานิตย์ ตุ้มเมือง ผู้ต้องสงสัยในคดีค้ายาเสพติด ขณะที่เขาถูกใส่กุญแจมือ และอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ

ยังคงมีความห่วงใยต่อการนำผู้ใช้ยาเสพติดไปควบคุมตัวในศูนย์บังคับบำบัด การติดยาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกองทัพ และกระทรวงมหาดไทย โดย “การบำบัด” ดังกล่าวนั้นอาศัยการออกกำลังกายตามแบบทหาร โดยมีการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์น้อยมากในกรณีที่เกิดอาการลงแดง

ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

องค์การฮิวแมนไรท์วอท์ชแสดงความห่วงใยต่อข้อกล่าวหาว่า มีการปฏิบัติที่ไม่ชอบต่อผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบที่ ถูกคุมขัง สืบเนื่องมากจากกรณีการเสียชีวิตของสุไลมาน นะแซ ในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ชาวมุสลิม และกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ยังมีข้อร้องเรียนมากขึ้นเกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้ กำลังอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการลอบสังหารครูสอนศาสนา และผู้นำชุมชนที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนพัวพันกับการแบ่งแยกดินแดน โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินคดีอาญาที่บรรลุผลสำเร็จในกรณีเหล่านั้นแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 1 กันยายน ตำรวจยกเลิกการตั้งข้อหาทางอาญาต่อสุทธิรักษ์ คงสุวรรณ สมาชิกกองกำลังติดอาวุธที่ได้รับการฝึกอบรมจากกองทัพบก ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำการบุกโจมตีผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มัสยิดอัลฟา ร์กอน เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน และบาดเจ็บอีก 12 คน

กลุ่มแบ่งแยกดินแดนยังคงโจมตี และสังหารพลเรือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงครูโรงเรียนรัฐบาล รวมทั้งยังได้ข่มขู่คุกคามครู และผู้บริหารโรงเรียนรัฐบาล จนทำให้ต้องมีการปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราว เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเข้ายึดครองโรงเรียนบ่อยครั้ง และได้เปลี่ยนโรงเรียนเป็นค่ายทหาร ซึ่งส่งผลกระทบที่บั่นทอนคุณภาพของการศึกษา ผู้ก่อความไม่สงบได้รับนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเข้าร่วมขบวน การ และมีบทบาทต่างๆ ในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธต่อสู้กับรัฐบาล เช่น ให้ทำหน้าที่เป็นสายข่าว หรือวางเพลิงเผาสถานที่ต่างๆ ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงก็บุกเข้าไปในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พร้อมกับควบคุมตัวครู และนักเรียนมาสอบปากคำหลายครั้ง

ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงความคุ้มครองในฐานะผู้ลี้ภัย และคนงานย้ายถิ่น

รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของทางการไทยละเมิดหลักการระหว่างประเทศ โดยมีการส่งตัวผู้ลี้ภัย และผู้แสวงความคุ้มครองในฐานะผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศที่บุคคลเหล่านั้นอาจ จะถูกลงโทษ ถึงแม้จะมีการแสดงความไม่เห็นชอบจากประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งการคัดค้านอย่างจริงจังโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชา ชาติ และเลขาธิการสหประชาชาติ แต่เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 กองทัพบกก็ดำเนินปฏิบัติการบังคับส่งกลับชาวม้ง 4,689 คนไปยังประเทศลาว ซึ่งรวมถึงผู้ที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุว่าเป็น “บุคคลที่พึงห่วงใย” จำนวน 158 คนด้วย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2553 รัฐบาลไทยส่งตัวชาวพม่าหลายพันคนที่หลบหนีการสู้รบในบริเวณชายแดนกลับไปยัง ประเทศพม่า ก่อนที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจะมีโอกาสประเมินว่า บุคคลเหล่านั้นประสงค์จะเดินทางกลับด้วยความสมัครใจหรือไม่

เมื่อเดือนตุลาคม ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับกุมชาวทมิฬ 128 คน ในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยในจำนวนนี้มีหลายคนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองข่มขู่ว่าจะส่งตัวบุคคลกลุ่มนี้ว่ากลับไปยังประเทศศรี ลังกา

รัฐบาลไทยยังไม่ดำเนินการตามคำสัญญาที่ระบุว่าจะให้มีการดำเนินการสอบสวน ที่เป็นอิสระเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่า เมื่อปี 2551 และ 2552 กองทัพเรือไทยได้ผลักดันเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญาจากประเทศพม่า และบังคลาเทศมาเต็มลำกลับออกไปยังน่านน้ำสากล ซึ่งส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน จนถึงขณะนี้ ชาวโรฮิงญา 54 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์กักกันของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมาตั้งแต่เดือน มกราคม 2552 ยังไม่สามารถเข้าถึงกลไกตรวจสอบสถานะผู้ลี้ภัย หรือได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามความจำเป็นใดๆ อนึ่ง ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้เสียชีวิตในระหว่างที่ถูกควบคุมตัวไปแล้วสองคนเมื่อปี 2552

คนงานย้ายถิ่นจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาวยังคงถูกตำรวจ ข้าราชการ นายจ้าง และเหล่ามิจฉาชีพในท้องที่ต่างๆ ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยแทบจะไม่ได้มีการลงโทษใดๆ ต่อผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนงานย้ายถิ่นเหล่านั้น และยังมีการใช้กฎหมายแรงงานไทยเข้ามาดูแลคนงานย้ายถิ่นน้อยมาก การบังคับใช้โครงการขึ้นทะเบียนเพื่อ “การรับรองสัญชาติ” ที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลทำให้คนงานย้ายถิ่นจำนวนนับแสนคนต้องสูญเสียสถานภาพตามกฎหมาย และทำให้บุคคลเหล่านั้นตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบมากยิ่ง กว่าเดิม ซึ่งรวมถึงการที่ทำให้คนงานย้ายถิ่นหญิงต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อความ รุนแรงทางเพศ และการค้ามนุษย์มากยิ่งขึ้นด้วย

ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน

รัฐบาลไทยมีความคืบหน้าน้อยมากในการสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรณี ที่ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน 20 คนถูกสังหารไปก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงกรณีของทนายความชาวมุสลิม สมชาย นีละไพจิตร ซึ่งถูกทำให้ “สูญหาย” ไปเมื่อปี 2547 และเชื่อได้ว่าเขาถูกสังหารไปแล้ว

ตัวแสดงระหว่างประเทศ

สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรปแสดงความสนับสนุนอย่างแข็งขันให้เกิดความปรองดองทางการเมือง และการฟื้นฟูสิทธิมนุษยชน และระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการเรียกร้องให้รัฐบาล และ นปช. เจรจากัน และขอให้ละเว้นการใช้ความรุนแรง สหประชาชาติจัดให้มีการฝึกอบรม และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่กระบวนการสืบสวนที่มีเป้าหมายในการนำตัวผู้ ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสร้างความรุนแรงทางการเมือง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

เมื่อเดือนตุลาคม นปช. ได้เสนอรายงานต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ผ่านสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศที่ทักษิณเป็นผู้ว่าจ้าง โดยร้องขอให้มีการสอบสวนเรื่องที่มีการกล่าวหาว่า รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของทางการไทยก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในระหว่างที่มีการสลาย การชุมนุมประท้วงของ นปช.

ประเทศไทยให้คำมั่นสัญญาที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหลายประการในการ รณรงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และยังได้สร้างความคาดหวังมากขึ้น เมื่อเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชา ชาติเมื่อเดือนมิถุนายน แต่จนขณะนี้ ยังมีความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำสัญญาเหล่านั้นน้อยมาก

ที่มา : เว็ปประชาไท ผ่าน มติชนออนไลน์ 25 มกราคม 2554



หยุดพ.ร.ก.ฉกฉวย หยุดข่มขืนประเทศไทย

หยุดพ.ร.ก.ฉกฉวย หยุดข่มขืนประเทศไทย
เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
ที่มา: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 263 วันที่ 12-18 มิถุนายน 2553 หน้า 8


“ต่อไปนี้จะไม่ตอบคำถามเรื่องพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วนะครับ เพราะถามทุกวัน”
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตอบผู้สื่อข่าว ถึงความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่ามี 3-4 จังหวัดที่อาจยกเลิกได้ก่อน โดยนายสุเทพให้เหตุผลที่ต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปว่า เป็นหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัย

จับกุมแล้ว 422 คน

ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติเผย การจับกุมผู้กระทำผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความผิดอาญาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น422 คน ส่วนใหญ่ถูกควบคุมในเรือนจำ ซึ่งถือว่าขัดกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และก่อนหน้านี้ก็ไม่เปิดเผยรายชื่อและสถานที่ควบคุมตัวอีกด้วย จนกระทั่งองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรในประเทศออกมาเคลื่อนไหว รัฐบาลจึงเปิดเผยรายชื่อผู้ถูกจับกุมและสถานที่ควบคุมตัว

ส่วนนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีการโอนคดีข้อหาก่อการร้ายทั้งหมดมาอยู่กับดีเอสไอ 151 สำนวน แต่ยังไม่รวมสำนวนคดีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษถาคมอีกกว่า 70 สำนวน นอกจากนี้ ยังรับข้อมูลชายชุดดำที่ก่อเหตุลอบยิงทหารและประชาชน (ไม่มีคดีทหารยิงประชาชน) เมื่อวันที่ 10 เมษายน ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบปากคำพยาน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินผิดกฎหมาย?

อย่างไรก็ตาม มีการตีความและฟ้องร้องถึงการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะในขณะนั้น ไม่ได้มีสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงแต่อย่างใด แม้จะมีกลุ่ม นปช. จำนวนหนึ่ง บุกเข้าไปในรัฐสภาก็ตาม แต่หลังจากนั้นกลุ่ม นปช. ก็กลับออกมาโดยไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ

ขณะที่นายสุเทพกล่าวกับคณะรัฐมนตรี ถึงเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า รัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายแก้ปัญหา โดยจะมีการยกระดับการใช้กฎหมายมากขึ้น โดยเริ่มจากเบาไปหาหนัก ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีแนวโน้มต้องใช้ในการสลายการชุมนุม เนื่องจากฝ่ายความมั่นคงประเมินสถานการณ์ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมอาจยกระดับความเข้มข้นและความรุนแรง

แต่การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่นานกว่า 2 เดือน และมีแนวโน้มว่าจะยาวไปถึงปลายปีนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติก็ถือว่า ไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะคำว่า “ฉุกเฉินร้ายแรง” บ่งบอกความหมายชัดเจนแล้ว ว่าบ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ร้ายแรง ถ้าไม่มีสถานการณ์ร้ายแรง รัฐบาลก็ต้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีอำนาจไม่ต่างจากอำนาจของคณะปฏิวัติรัฐประหาร

ข้องใจข้อหาก่อการร้าย

แต่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ให้รัฐมนตรีทุกคน ลงชื่อขอแต่งตั้งทนาย เพื่อใช้ต่อสู้ในข้อกล่าวหาของกลุ่ม นปช. ที่ฟ้องร้องกรณีที่รัฐบาลสั่งปิดสถานีโทรทัศน์พีทีวี และการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังให้จัดทำเอกสารที่ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจประเด็นการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกำชับให้รัฐมนตรีนำไปชี้แจง หากเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ได้ชี้แจงกับบรรดาทูต นักธุรกิจ และสื่อต่างชาติไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังข้องใจ เรื่องการใช้กำลังสลายการชุมนุม การก่อตั้งข้อหาผู้ก่อการร้าย และที่มาของอาวุธจำนวนมาก

แม้นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า ดำเนินการตามกฎหมายอาญาและตามคำจำกัดความ “ก่อการร้าย” ที่สอดคล้องกับกฎหมายของสหประชาชาติก็ตาม แต่การตั้งข้อหาดังกล่าวก็มาจากอำนาจในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับการกวาดล้างคนเสื้อแดง และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามในขณะนี้

ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ดังนั้นหลายประเทศจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับองค์กรภาคประชาชนและนักวิชาการจำนวนมากที่เห็นว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากขัดกับรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจที่ครอบจักรวาลเพื่อสร้างความชอบธรรมและเสถียรภาพของรัฐบาล มากกว่าเพื่อความมั่นคงและประโยชน์สุขของประชาชน

อย่างองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเลิกควบคุมตัวแกนนำและผู้ประท้วง นปช. ในสถานที่ลับ เพราะเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน และยังปราศจากการตั้งข้อหาที่มีหลักฐานชัดเจนอีกด้วย ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จของรัฐบาลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แทนที่จะนำตัวไปดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปรกติ หรือไม่ก็ปล่อยตัวไป

เช่นเดียวกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนในไทย และนักวิชาการต่อก็เรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนผู้ถูกจับกุมก็ต้องถือเป็น “ผู้มีความคิดเห็นทางการเมือง” แตกต่างจากรัฐ เป็น “นักโทษทางการเมือง” ที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย

ย้อนจุดยืน “อภิสิทธิ์”

แม้แต่ศาลเองยังถูกตั้งคำถามการยอมรับอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มากกว่ารัฐธรรมนูญและข้อบังคับของกฎหมายปรกติ เหมื่อนที่ศาลถูกตั้งคำถามว่าทำไมจึงยังยอมรับอำนาจการปฏิวัติรัฐประหารที่ถือเป็น โจราธิปัตย์ ซึ่งครั้งที่นายอภิสิทธ์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านก็เคยต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่เห็นชอบพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นัยว่าเป็นกฎหมายเผด็จการ หรือต่อต้านการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่ประกาศใช้เฉพาะบางพื้นที่ในกรุงเทพฯ หรือรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ประกาศใช้เฉพาะพื้นที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ที่กลุ่มพันธมิตรฯ เข้าปิดล้อม

เช่นเดียวกับนักธุรกิจทั้งสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ นักวิชาการและสมาคมสื่อต่างๆ ก็ออกมาต่อต้านและโจมตีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในรัฐบาลนายสมัครและนายสมชาย แต่วันนี้ นอกจากไม่ต่อต้านแล้วยังสนับสนุนอีก ทั้งที่สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ ไม่ได้ฉุกเฉินเลวร้ายตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ซึ่งส่งผล กระทบต่อการลงทุนและการท่องเที่ยวอย่างมากมาย

กฎหมายติดหนวด

แต่ที่น่าวิตกคือการใช้อำนาจพ.ร.ก.ฉุกเฉินเกินกว่าเหตุ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาลและพวกพ้องมากกว่าความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน เพราะไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงแล้ว แต่รัฐบาลยังไม่ยอมยกเลิก กลับเร่งกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งพยายามปิดสื่อทุกชนิดที่เสนอข้อมูลข่าวสารตรงข้ามกับรัฐบาล ซึ่งไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการ ที่วันนี้ปิดเว็บไซต์ ปิดพีทีวี ปิดสิ่งพิมพ์ และปิดวิทยุชุมชนไปแล้วมากมาย ทั้งที่รัฐธรรมนูญเองก็ไม่สามารถทำได้

ที่สำคัญ ยังเป็นการประจานแผนปรองดองของรัฐบาลเองว่าไม่มีควาจริงใจ หรือเป็นแค่การตีสองหน้า เพื่อสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล แต่กลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ กับการเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์เกือบ 100 ราย แลบาดเจ็บกว่า2,000 ราย อย่างที่นายบุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ นักวิชาการคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่งแถลงการณ์เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ลาออก

“ใครสั่งฆ่าประชาชนต้องถูกนำมารับโทษ นักวิชาการที่ออกมาสนับสนุนการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ”

พ.ร.ก.ฉกฉวย

สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ จึงไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เลย ที่รัฐบาลจะยังคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ ยกเว้นแต่รัฐบาลต้องการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงต้องเรียกว่าพ.ร.ก.ฉกฉวย เพื่อให้รัฐบาลใช้กล่าวหาและกวาดล้างคนเสื้อแดง รวมถึงนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้อย่างเต็มที่แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ตาม แค่สงสัยหรือกล่าวหาก็สามารถจับกุมได้แล้ว แม้แต่การสั่งให้ทหารฆ่าและทำร้ายประชาชน

นายอภิสิทธิ์จึงไม่ใช่แค่ “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” ธรรมดา แต่ต้องถือว่าเป็นผู้นำที่มีใจโหดเหี้ยมและน่ากลัวกว่ารัฐบาลเผด็จการที่ผ่านมา แม้แต่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นต้นเหตุของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬยังต้องอาย

สังคมไทยวิปริต

และที่น่าวิตกอย่างยิ่งคือความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ นั้น แทบไม่พูดถึงประชาชนที่เสียชีวิต และบาดเจ็บมากมายในเหตุการณ์ 10 เมษายน และ 13-19 พฤษภาคมเลย แต่กลับให้ความสำคัญกับศูนย์การค้าและอาคารต่างๆ ที่ถูกเผา รวมทั้งสนุกสนานกับการช็อปปิ้งและดารได้ใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยอย่างคนเมืองหลวงอีกครั้งเท่านั้น

ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่หลงปลาบปลื้มไปกับวาทกรรม “ศรีธนญชัย” ของนายอภิสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความปรองดอง การปฏิรูปประเทศ หรือปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ไม่มีอะไรชัดเจน หรือเป็นแค่การฟอกตัวและสร้างความชอบธรรมเพื่ออยู่ในอำนาจต่อไปเท่านั้น

คนส่วนใหญ่จึงไม่เคยโศกเศร้ากับการฆ่าที่โหดเหี้ยมหรือเรียกร้องให้รัฐบาลและกองทัพแสดงความรับผิดชอบ หรือเร่งสอบสวนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษ

ขณะที่รัฐบาลและศอฉ. ยังคงยัดเยียดข้อมูลข่าวสารด้านเดียวให้กับประชาชน พร้อมกับใช้อำนาจในพ.ร.ก.ฉุกเฉินเหมือนดาบอาญาสิทธิ์ เพื่อเร่งกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้าม โดยคนไทยส่วนใหญ่กลับนิ่งเฉย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับหญิงสาวที่ถูกเรียงคิวข่มขืน โดยมีคนนั่งดูอยู่ทั่วบ้านเมืองเหมือนไม่มีอะไร เพราะคนข่มขืนบอกว่าตัวเองรูปหล่อและใช้ถุงยางป้องกันอย่างดี คนถูกข่มขืนจึงน่าจะมีความสุขอย่างเต็มใจ

ถือเป็นความทรงจำที่เจ็บปวดเปรียบเสทอนผู้หญิงที่ถูกข่มขืน โดยสามีถูกจับมัดให้นั่งดู ส่วนลูกถูกปิดตาให้ฟังแต่เสียง แทนที่แม่จะร้องอย่างทุกข์ทรมานกลับร้องครวญครางอย่างมีความสุข เพราะสมยอมคนข่มขืนที่รูปหล่อและสัญญาอะไรก็ได้ที่จะทำให้มีความสุขแม้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม

หยุดข่มขืนชาติ

จึงเป็นความจริงที่เจ็บปวดและปวดร้าวของสังคมไทยที่ ถูกบังคับให้ละเลย ไร้สำนึก มองข้ามเหตุการณ์ความโหดเหี้ยมที่เกิดขึ้นจากทหารนับหมื่นที่มีอาวุธสงคราม และรถถังดาหน้าเข้าล้อมปราบประชาชนผู้บริสุทธิ์ คิดถึงเพียงความสุขที่อยู่ตรงหน้า ยอมรับขบวนการโกหก ตอแหล บิดเบือน อย่างหน้าชื่นตาบาน

สังคมไทยวันนี้จึงไม่ใช่แค่วิกฤต แต่ทั้งวิปริตและอาเพศ เพราะประชาชนหน้ายิ้มระรื่นยอมรับอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่รัฐบาลฉกฉวยมาใช้อย่างครอบจักรวาล ทั้งที่รัฐบาลก็แถลงเองว่าสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้สามารถควบคุมได้ ซึ่งหมายความว่าสถานการณ์ไม่ได้ฉุกเฉินเลวร้าย ขนาดนายอภิสิทธิ์ยังได้ใช้เวทีต่างประเทศที่เวียดนามประกาศชัดเจนว่าประเทศ ไทยกลับสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว แต่คล้อยหลังไม่กี่วันกลับยืด พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปนานนับเดือน และไม่มีทีท่าว่าจะเลิกใช้แต่อย่างใด

พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงเป็น พ.ร.ก.ฉกฉวย ที่ไม่ต่างอะไรกับการใช้อำนาจเผด็จการเพื่อกวาดล้างและปราบปรามประชาชนที่ เป็นฝ่ายตรงข้าม

หยุด พ.ร.ก.ฉุกเฉินทันที! หยุดข่มขืนประเทศไทยได้แล้ว!


Thailand Has Violated Human Rights

Thailand Has Violated Human Rights
Taken from: Robert Amsterdam

In a blog post at New Mandala, the human rights activist Kwanravee Wangudom has published a response to an op/ed in the Bangkok Post which asserted that the government of Thailand had not violated human rights in the violence against protesters in April and May.

Finally, the author criticizes the government rightly about its poor intelligence which made it unable to identify the “armed groups” among the demonstrators, but he nonetheless says the government is somehow justified by international human rights standards in ordering the troops to use firearms against demonstrators. This is such an oxymoron – using human rights norms to justify killing innocent people – the point is that the poor intelligence which made the government unable to identify alleged “armed groups” in the midst of the protestors, should not have been used to justify using firearms against a crowd of mainly unarmed protestors.  In other words, how would it be possible for the government to use firearms against the right targets, namely the “armed groups”? As a result, none of the slain and injured demonstrators and passersby, more than 2,000 of them, was found to have in possession any weapon. Can this justify the use of gunshots for “self-defense”? Worse, many of the victims are found to have been shot by “indiscriminate shootings” including foreign and local journalists and medic personnel who literally gave and risked their lives to save others. All of this is in serious violation of the most basic principles of humanitarian law, let alone the human rights obligations of the Thai government.

ไทยละเมิดสิทธิ์มนุษยชน
จาก Thailand Has Violated Human Rights

Kwanravee Wangudom เขียนไว้ในบล็อก นิวมันดาลา (นวมณฑล) ตอบคำถามของบทความจากบางกอกโพสท์ (“รัฐบาลนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนกระนั้นหรือ,.. คิดใหม่ดีกว่า“) โดยใช้ชื่อบทความว่า “ละเมิดสิทธิมนุษยชน ใช่ยิ่งกว่าใช่” โดยทาง โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้สรุปว่า

“..ในตอนท้ายของบทความ ผู้เขียนได้วิจารณ์ความห่วยของหน่วยข่าวกรอง ที่ไม่สามารถแยกแยะ “กองกำลังติดอาวุธ” ออกจากผู้ชุมนุมมือเปล่าได้ และยังได้กล่าวอ้างเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามหลักสากล ทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชน และเรื่องการใช้กำลังสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นการพูดที่ฟังดูขัดแย้งในใจความ โดยนำประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนมาใช้ในเรื่องการสังหารผู้บริสุทธิ์ สาระสำคัญก็คือว่า หน่วยข่าวกรองล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ในเรื่องการแยกกลุ่มกองกำลังติดอาวุธออกจากผู้ชุมนุม ซึ่งส่วนใหญ่ปราศจากอาวุธ และยังตัดสินใจใช้อาวุธยิงเข้าไปอีก ที่น่าสะเทือนใจไปกว่านั้น คือผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเหล่านั้นไม่มีอาวุธ จะอ้างได้หรือ ว่าที่ทหารยิงใส่ผู้ชุมนุมนั้น เป็นเพียงการป้องกันตัว และที่แย่ไปกว่านั้นคือว่า มีการยิงโดยไม่แยกแยะเสียด้วยซ้ำ เช่น ผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศ แม้กระทั้งหน่วยพยาบาลที่เสี่ยงชีวิตตน เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ก็ยังถูกยิงจนเสียชีวิต นี่เป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อกฎหมายเกี่ยวกับมนุษยธรรม นอกเหนือไปจากพันธะผูกพันในด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยต้องยึดถือ..”


อภิสิทธิ์ ตอนอยู่ออกซ์ฝอด

ภาพจากหนังสือพิมพ์เกาหลี เห็นครั้งแรกอยู่ที่ Thai E-News นี่สะท้อนได้ว่า ต่างประเทศ เขาหูตาสว่างกว่าคนในประเทศเสียอีก..
ภาพ บรรยายว่า “อภิสิทธิ์ในวัยหนุ่ม ระหว่างชั้นเรียนวิชาสิทธิมนุษยชน”

มิน่าหละ..