แมกซิมิเลียน โรเบสปีแอร์ กับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

โดย Octoberist Kontula
23 มิถุนายน 2553

พอดีว่าหลายวันก่อน ได้อ่านเจอเรื่องหนึ่งในหนังสือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของประเทศฝรั่งเศส พออ่านแล้วน่าสนใจก็มาเปิดประวัติศาสตร์ดูทำนึกคนๆหนึ่งใน รัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน ทุกท่านคนหนึ่งออกแล้วว่าผมหมายถึงใคร ถูกต้องครับ คนนั้นคือ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” แล้วคนที่เป็นส่วนที่ทำให้ผมนึกถึงเขาก็คือ “มักซีมีลียอง ฟรองซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรแบสปีแยร์” หรือหลายคนเรียกว่า “แมกซิมิเลียน โรเบสปีแอร์”

เรื่องแรก นายอภิสิทธิ์กับโรเบสปีแอร์ เรื่อง “คุณธรรม”

เรื่อง มีอยู่ว่า มักซีมีลียอง โรแบสปีแยร์ คนนี้เดิมเขาเป็นนักกฎหมาย เป็นทนายความได้คัดค้านต่อต้านอย่างแข็งขันมิให้มีการลงโทษ ด้วยการประหารชีวิต การทำเช่นนี้ส่งผมให้เขามีชื่อเสียง ทำให้นักโทษไม่จำเป็นต้องโดนพิพากษาจากศาลให้ถูกประหารชีวิตจนเป็นที่เลื่อง ลือว่าเขาเป็นคนมี “คุณธรรม”

เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ คนที่สมัยทำหน้าที่ฝ่ายค้าน คอยทำการตรวจสอบรัฐบาล คอยใช้วาทะศิลป์ในการใช้คำพูดสร้างภาพให้ตัวเองดูมี “คุณธรรม” ทำให้หลายๆคนมองว่า นายอภิสิทธิ์ เป็นคนดีนั้น จนเป็นขวัญพวกขี้เหลืองกับพวกสลิ่มที่ไม่เคยรับรู้อะไร ตามแบบฉบับยี่ห้อประชาธิปัตย์

เรื่องที่สอง นายอภิสิทธิ์กับโรเบสปีแอร์ เรื่อง “บทบาทการฉวยโอกาส”

หลังจากโรเบสปีแอร์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ จนมาวันหนึ่งฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือเข้าโจมตีทำลายคุกบาสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และ ขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสแทบทั้งประเทศก็เข้าร่วมม็อบนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวด เร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนเป็นประเทศในระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้ จึงแสดง “บทบาทฉวยโอกาส” ใช้ชื่อเสียงเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ

เช่น เดียวกับ นายอภิสิทธิ์ (แต่คงจะหน้าด้านกว่า) เมื่อระบบอํามาตยาธิปไตยและม็อบขี้เหลือง เข้ามามีอำนาจคุกคามรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นยุคพรรคไทยรักไทยจน ถึงพรรคพลังประชาชน มีการตัดสินยุบพรรคถึงสองครั้ง ทำให้มีการแยกแยกออกเป็นพรรคต่างๆ รวมทั้งพรรคงูเห่า ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ จึงแสดง “บทบาทฉวยโอกาส” ใช้อำนาจหนุนหลังรวมทั้งชื่อเสียงจากพวกตรงข้ามกับ นปช. และสถานะการณ์ โดยอ้างความชอบธรรม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

เรื่องที่สาม นายอภิสิทธิ์กับโรเบสปีแอร์ เรื่อง “จอมเผด็จการ” และ “ใส่ร้ายใส่ความ”

หลังจากโรเบสปีแอร์ เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ เขาก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เขาจึงได้กลายเป็น “จอมเผด็จการ” อย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพันๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การ “ใส่ร้ายใส่ความ” โดยโรเบสปีแอร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยติน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่นๆ เรียกช่วงเวลาที่โรเบสปีแอร์อยู่ ในตำแหน่งว่า “ยุคแห่งความหวาดกลัว”

เช่น เดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ก็ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างสิ่งที่เรียกว่า “สองมาตรฐาน” จนทำให้กลุ่ม นปช. ต้องออกมาเรียกร้องถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือ เมษาเลือด ปี 52 แต่ครั้งนั้น การชีวิตของแนวร่วมจนเป็นที่กล่าวขวัญว่ารัฐบาลบิดเบือน รอดพ้นคำว่า “จอมเผด็จการ” ไปได้ แต่ครั้งที่สอง เมษาเลือดปี 53 และการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ทำให้ครั้งนี้มีคนตายกว่า 80 ศพบาดเจ็ดเกือบ 2,000 คน สูญหายอีกไม่รู้เท่าไร จนครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ถือเป็น “จอมเผด็จการ” ขนานแท้ และอ้างเหตุผลเรื่อง “ผู้ก่อการร้าย” แต่จริงๆแล้วมันคือสิ่งที่เรียกว่า “ใส่ร้ายใส่ความ” กลุ่ม นปช. เสียมากกว่า

และเรื่องที่สุดท้าย นายอภิสิทธิ์กับโรเบสปีแอร์ จะเหมือนกันหรือเปล่านั้น คงจะต้องรอเวลาเป็นเครื่องตัดสิน คือเรื่อง “วาระสุดท้าย”

วาระ สุดท้ายของโรเบสปีแอร์ ก็มาถึง.. ในพ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจโรเบสปีแอร์ และทำการจับกุมตัวโรเบสปีแอร์ แต่เขาพยายามฆ่าตัวตายเพื่อหนีความผิดแต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายนายโรเบสปีแอร์ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินท่ามกลางผู้ คนมากมายที่รุมล้อมใน วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337

สำหรับนายอภิสิทธิ์ วาระสุดท้ายสุดท้ายจะเป็นเช่นไร เพราะว่าหลายๆเรื่องก็ดูไม่ต่าง จากโรเบสปีแอร์ เพราะตอนนี้ พวกเสื้อเหลืองบางกลุ่มก็ไม่เอาด้วยแล้ว พวกเสื้อเหลืองบางคนกรรมมันก็ตามมาทันแล้ว พวกเราคงจะต้องติดตามกันต่อไป..