ประเทศไทยต้องมีการเลือกตั้ง

แปลจาก Thailand Must Hold Elections

เดอะ คาเนเดี้ยน เพรส (The Canadian Press) รายงานข่าวโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม แถลงข่าวที่โตเกียว

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดการกลุ่มคนเสื้อแดงที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ ชี้ให้เห็นชัดว่า รัฐบาลไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและกลัวการกลับมาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ผู้ซึ่งรัฐบาลได้เรียกว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ที่อยู่เบื้องหลังความไม่สงบต่างๆ

พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกยึดอำนาจโดยคณะรัฐประหาร ใน พ.ศ. 2549

การเลือกตั้งใหม่ เป็นข้อเรียกร้องสูงสุดของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ที่ประกอบไปด้วยประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด, คนยากจน, นักประชาธิปไตย, และนักการเมืองฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ แม้ขณะนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โดยกำลังถูกดำเนินคดีข้อหาทุจริต คอร์รัปชั่น แต่ยังคงมีผู้ที่จงรักดีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากนโยบายที่ช่วยคนจน ชาวรากหญ้า ให้ได้ลืมตาอ้าปากได้

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้ออกหมายจับ พ.ต.ท. ทักษิณ ในข้อหาก่อการร้ายด้วย ซึ่งนายอัมสเตอร์ดัมเห็นว่า เป็นการเดินเกมที่ผิดพลาดและยังลดโอกาสในการได้ตัว พ.ต.ท. ทักษิณ กลับมารับโทษ เนื่องจากข้อหาที่ตั้งขึ้นมา เป็นข้อหาหนัก

“ผมคิดว่าพวกเขา (รัฐบาลไทย) เดินเกมผิดพลาดอย่างแรง ที่ไปกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทำให้โอกาสที่จะร้องขอให้ต่างประเทศส่งตัว พ.ต.ท. ทักษิณ กลับมารับโทษในไทยริบหรี่ลงไป เพราะข้อหาเหล่านี้เป็นข้อหารุนแรง มีโทษถึงประหารชีวิต..”

“คนเหล่านี้ (รัฐบาลไทยและผู้อยู่เบื้องหลัง) เกรงกลัวทักษิณ” นายอัมสเตอร์ดัม กล่าวต่อ “พวกเขากลัวคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแท้จริง..”

Resource: Thailand Must Hold Elections

The Canadian Press covers the Robert Amsterdam press conference in Tokyo.

Robert Amsterdam, who represents Thaksin, said the government’s handling of the Red Shirt protests demonstrated it does not have the support of the people and fears the return of Thaksin, whom it has called a terrorist for allegedly fomenting the unrest.

Thaksin was ousted in a 2006 coup.

New elections are a top demand of the Red Shirt movement, which is made up of urban and rural poor, democracy activists and politicians loyal to Thaksin. Now in self-exile in Europe, Thaksin faces charges of corruption and abuse of power but commands a strong following because of his populist policies.

The Thai government has also issued a warrant for Thaksin’s arrest on terrorism charges, a move Amsterdam said was a tactical mistake.

“I think they made a serious mistake in calling him a terrorist,” Amsterdam said. “I think they have reduced their chances of any country extraditing him” because of the possibility of a death penalty that the charges carry.

“These people are scared of Thaksin,” he said. “They are scared of someone elected by the people.”



อำนาจอำมหิตกับข้อสรุปประเทศไทย

โดย นายทหารเอก กรุงธน
จาก Thai E-News 21 มิถุนายน 2553

ได้ข้อสรุปกันเสียทีว่าวิกฤตของประเทศวันนี้ เป็นผลมาจากการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อ 19 กันยายน 2549

ข้อสรุปข้างต้น เป็นผลจากคำแถลงของนางเฮเลน คลาร์ค ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ที่กล่าวว่า“ความปั่นป่วนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลให้เกิดสภาพไร้เสถียรภาพทางการเมืองต่อเนื่องมายาวนานกว่า 3 ปี” (มติชน พฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2553)

ที่สำคัญที่สุดที่ผมให้น้ำหนักกับ คำพูดของนางเฮเลน คลาร์ค ซึ่งเคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศนิวซีแลนด์นี้ก็เพราะไม่เคยมีผลประโยชน์ เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือฝ่ายคณะรัฐประหาร และที่สำคัญและน่าเชื่อถือข้อสรุปนี้ที่สุดคือไม่มีคนในพรรคประชาธิปัตย์ แม้แต่คนเดียวออกมาโต้แย้งประเด็นนี้ รวมทั้งตัวนายกฯอภิสิทธิ์เอง ก็ออกมาให้สัมภาษณ์กล้อมแกล้มๆว่า “ก็คงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน” (มติชน 18 มิถุนายน 2553)

ประเด็นปฐมเหตุของมหาวิกฤตของประเทศไทยวันนี้ ได้ถกเถียงกันมานานตลอดระยะเวลา 3 ปีเศษ ซึ่งฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตร และเครือข่ายของคณะรัฐประหารฝ่ายหนึ่ง กับพรรคเพื่อไทย และกลุ่ม นปช. และเครือข่ายมวลชนเสื้อแดงอีกฝ่ายหนึ่ง ถกเถียงไม่ยอมรับกัน คล้ายๆ กับประเด็นทหารฆ่าประชาชนที่ผู้คนก็เห็นกันทั่วโลกไม่เฉพาะประเทศไทยว่าทหาร ยิงประชาชน แต่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตร และเครือข่ายของคณะรัฐประหารก็เถียงคอเป็นเอ็นว่าทหารไม่ได้ฆ่าประชาชนตาย แม้แต่คนเดียว และดูจะเสียงดังกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะเป็นฝ่ายกุมอำนาจรัฐ กุมสื่อ และที่สำคัญคือ อยู่ในอ้อมกอดของอำนาจอำมหิต (ขอใช้สำนวน อ.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ในมติชน วันที่ 14 มิถุนายน 2553 เพื่อความปลอดภัย)

อำนาจ อำมหิต เป็นใครผมก็ไม่รู้แต่คงไม่ใช่ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหารแน่นอน เพราะได้หลุดจากอำนาจ ผบ.ทบ.ไปเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิที่มี ส.ส.อยู่ในมือแค่ 3 เสียง

หลังจากที่มีการสังหารประชาชนจากราชดำเนินถึงราชประสงค์ ประชาชนเสียชีวิตและสาบสูญนับ 100 คน บาดเจ็บร่วม 2 พันคน รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง กลับอยู่ได้อย่างไม่สะทกสะท้านก็ไม่รู้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอำนาจอำมหิต หรือไม่?

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์รู้อยู่แก่ใจดีว่าโลกนี้เขายอมรับการ สั่งให้ทหารฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็นเช่นนี้ไม่ได้ แต่นายอภิสิทธิ์กลับพยายามเบี่ยงเบนทั้งในสภาและนอกสภาที่จะไม่พูดถึงเรื่อง คนตาย แต่พยายามจะพูดถึงเรื่องความปรองดอง การปฏิรูปประเทศ และการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 แทน ทั้งๆที่พรรคประชาธิปัตย์อยู่ในอำนาจมาปีกว่าแล้วไม่เคยพูดหรือแสดงท่าทีว่า มีความมุ่งหมายในสิ่งเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย

พอมาดูแกนนำของคณะ กรรมการชุดต่างๆก็ยิ่งชัดเจนว่าล้วนแล้วแต่เป็นคนใกล้ชิดกับคณะรัฐประหาร กลุ่มพันธมิตร และพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยร่วมหัวจมท้ายกันตั้งแต่สนับสนุนการรัฐประหาร โค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อ 19 กันยายน 2549 และร่วมกันโค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร และนายสมชาย ถึงขั้นลงทุนยึดทำเนียบรัฐบาล และยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ซึ่งโด่งดังไปทั้งโลก

ตลอดระยะเวลาวิกฤต 3 ปีกว่ามานี้ ผู้คนในคณะกรรมการต่างๆที่คุณอภิสิทธิ์อวดอ้างว่าเป็นกลางก็ทำตัวเป็นคนหู หนวกตาบอดโดยไม่เคยออกมาตำหนิการกระทำผิดของพวกเสื้อเหลืองที่กระทำผิดขั้น อุกฤษแม้แต่ครั้งเดียว

กรรมการที่แกล้งทำตัวเป็นคนหูหนวก ตาบอดที่กล่าวถึง อาทิเช่น นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์,นายสมคิด เลิศไพฑูรย์,นายจรัส สุวรรณมาลา, นายเจษฏ์ โทนะวณิก เป็นต้น

ส่วนแกนนำคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยดูจะเป็นบอร์ดใหญ่สุดในบรรดาบอร์ดทั้งหมดที่ ตาบอดที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน,นายแพทย์ประเวศ วะสี และนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งถือเป็นมวยรุ่นใหญ่ก็เป็นผู้อยู่ในเครือข่ายการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 เช่นนายไพบูลย์ได้เข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของคณะรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน ส่วนนายอานันท์ก็เป็นอดีตนายกฯในคณะรัฐประหารของ รสช.ที่มีส่วนในการฆ่าประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 แม้นายอานันท์กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบหนึ่ง หลังเกิดเหตุการณ์สังหารประชาชนแล้วนายอานันท์ก็ไม่มีผลงานที่จะกล่าวอ้าง ได้ถึงการให้ความเป็นธรรมแค่ประชาชนที่เสียชีวิตจากการเรียกร้องหา ประชาธิปไตยด้วย 2 มือเปล่าเลย ส่วน นพ.ประเวส วะสี แม้จะไม่เคยดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของคณะรัฐประหาร แต่บทบาทคุณหมอท่านนี้ก็ไม่เคยแสดงท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการรัฐประหาร และการสังหารประชาชนทั้งในอดีตและในปัจจุบันเลย ดูเหมือนว่าทำตัวเป็นคนความจำเสื่อมโดยเฉพาะการทำลายประชาธิปไตยและการ สังหารประชาชน

ที่ร้ายไปกว่านั้น นายอานันท์และนพ.ประเวศได้กล่าว อ้างอย่างเต็มปากเต็มคำว่าท่านได้รับเลือกมาจากภาคประชาชน

ผมเป็นเด็กกว่าท่านทั้งสองนี้มาก และมิกล้าที่จะเอาคุณธรรมในตัวเองไปเทียบกับท่านได้ แต่ผมอายแทนท่านจริงๆ ที่ท่านกล่าวอ้างเป็นตัวแทนประชาชนอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจกับภูมิหลังของท่าน ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย และไม่เคยตำหนิผู้สั่งการสังหารประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย

เมื่อข้อสรุปของนางเฮเลน คลาร์ค ผอ.โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติที่ว่าวิกฤตของไทยวันนี้มาจากการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 จนมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศไทย ก็แสดงว่าบุคคลที่กล่าวถึงข้างต้นทั้งหมดที่เป็นแกนนำองค์กรสำคัญที่นาย อภิสิทธิ์หวังว่าจะมาช่วยวิกฤตของชาติเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับผู้ที่สร้าง วิกฤตของชาติรวมทั้งตัวคุณอภิสิทธิ์ด้วยนั่นเอง

ผมจะสรุปว่า นายอภิสิทธิ์ในฐานะผู้แต่งตั้งและบุคคลที่กล่าวถึงข้างต้นและพวก ในฐานะผู้ถูกแต่งตั้ง เป็นผู้ใกล้ชิดกับพลเอกสนธิ และในวันนี้ยังมีบทบาททางการเมืองก็เพราะพลเอกสนธิก็น่าจะเป็นข้อสรุปที่ผิด อย่างยิ่ง

ถ้าเช่นนั้นบุคคลเหล่านี้เข้ามามีบทบาททางการเมืองได้ เพราะใคร? จะอ้างชื่อนายอภิสิทธิ์ก็เป็นไปไม่ได้เพราะคุณอานันท์ก็อ้างหลายครั้งว่าผม ไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาล

ถ้าเช่นนั้นพวกเขามาจากอำนาจส่วนไหนกัน? เป็นเรื่องชวนคิดจริงๆ สำหรับสังคมไทย

จะโยนให้ว่ามาจากอ้อมกอด ของอำนาจอำมหิตก็เกรงใจอาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ เดี๋ยวจะหาว่าอ้างท่านเรื่อย

รู้แต่ก็พูดกันไม่สะดวกครับ